ทางการบังคลาเทศต้องการย้ายผู้อพยพโรฮิงยา ราว 81,000 คน ไปยังเกาะที่อยู่ห่างไกลในอ่าวเบงกอล หลังจากได้ทำข้อตกลงกับสหประชาชาติ
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: 'บังคลาเทศ' เตรียมปล่อยเกาะโรฮิงยากว่า 8 หมื่นคน!
ค็อกส์ บาซาร์ – ทางการบังคลาเทศต้องการย้ายผู้อพยพโรฮิงยา ราว 81,000 คน ไปยังเกาะที่อยู่ห่างไกลในอ่าวเบงกอล หลังจากได้ทำข้อตกลงกับสหประชาชาติ เกี่ยวกับการจัดหาความช่วยเหลือให้กับผู้อพยพที่เกาะดังกล่าว
ก่อนหน้านี้มีการย้ายผู้อพยพโรฮิงยาจากค่ายที่แออัดบนแผ่นดินใหญ่ ไปไว้ยังเกาะ Bhashan Char ราว 19,000 แม้องค์กรช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจะตั้งข้อสงสัยในการความคิดนี้
ชาฮ์ เรซวาน ฮายัต กรรมธิการผู้ลี้ภัยชาวบังคลาเทศ กล่าวกับสื่อว่า จะมีการย้ายผู้อพยพไปเพิ่มอีกหลายหมื่นคน หลังจากหมดฤดูมรสุมในเดือนพฤศจิกายน และคาดว่าจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2022 จะสามารถย้ายผู้อพยพไปจนครบโควตา 100,000 คน
เขายังกล่าวว่า รัฐบาลบังคลาเทศได้ใช้งบประมาณ 350 ล้านดอลล่าร์ ในการสร้างที่พักพิงบนเกาะ Bhashan Char ซึ่งมีขนาด 53 ตารางกิโลเมตร เกาะแห่งนี้ก่อตัวขึ้นมาจากตะกอนดินที่น้ำพัดพามารวมตัวกันเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา นอกจากสภาพของเกาะที่ไม่เอื้อในการอยู่อาศัยแล้ว เกาะนี้ยังอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ถึง 60 กิโลเมตร และผู้อพยพโรฮิงยาส่วนหนึ่งกล่าวว่า พวกเขาถูกบังคับให้ย้ายไป
ค่ายผู้อพยพโรฮิงยาที่ตั้งอยู่ใกล้พรมแดนระหว่างเมียนมาร์ กับบังคลาเทศ แออัดไปด้วยผู้อพยพราว 850,000 คน พวกเขาส่วนมากเตลิดหนีการปราบปรามของทหารเมียนมาร์ ข้ามมายังบังคลาเทศในปี 2017 ซึ่งสหประชาชาติกล่าวว่า การกระทำของทหารเมียนม่าร์ เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
บังคลาเทศได้รับเสียงชื่นชม จากการรับผู้ลี้ภัยที่หลั่งไหลข้ามพรมแดนมา แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการหาที่อยู่อาศัยที่ถาวรให้ ในขณะที่หน่วยข่าวกรองด้านความมั่นคงของบังคลาเทศ รับผิดชอบในการย้ายผู้ลี้ภัย และรัฐบาลปฏิเสธว่ามีการบังคับขู่เข็ญผู้อพยพ
อย่างไรก็ตาม มีชาวโรฮิงยาหลายร้อยคนพยายามหลบหนีออกจากเกาะ Bhashan Char แต่ไม่ประสบความสำเร็จและกลับถูกจับขังอยู่ในเกาะอื่น หรือในหมู่บ้านชาวประมง อีกหลายสิบคนเสียชีวิตหลังจากเรือประมงที่พวกเขาใช้เป็นพาหนะหลบหนีได้ล่มลงเมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา
แม้สหประชาชาติจะตั้งข้อสงสัยในการย้ายผู้อพยพไปยังเกาะดังกล่าว แต่ฝ่ายบังคลาเทศและเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ กล่าวว่า ได้มีการทำข้อตกลงในการให้สหประชาชาติ มีบทบาทในการจัดหาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับชาวโรฮิงยาที่ย้ายไปอยู่เกาะ และยังอนุญาตให้ติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ บนเกาะได้ตลอดเวลา
ที่มา: www.arabnews.com
https://news.muslimthaipost.com/news/35733
- ผู้ลี้ภัยซีเรียลุยเต็มที่! ช่วยทำความสะอาดหลังน้ำท่วมใหญ่เยอรมัน
- ภาพน้ำท่วมครั้งใหญ่ค่ายโรฮิงญาในบังคลาเทศ ลำบากสาหัส!
- มุสลิมเมียนมาร์ ตั้งที่ปรึกษาพหุชาติพันธุ์
- ศาลสูงมาเลเซียให้คนไม่ใช่มุสลิม ใช้คำว่า “อัลลอฮ์” ได้
- บังคลาเทศปล่อยเกาะมุสลิมโรฮิงยาเพิ่ม 4,000 คน
- สุดระยำ! ทหารเมียนมาร์สารภาพ ถูกสั่งฆ่าโรฮิงยาทุกคน ข่มขืนไม่เลือก
- มุสลิมโรฮิงญา ติดโควิด-19 ตายศพแรกในบังคลาเทศ
- มุสลิมโรฮิงญาเกือบ 300 คนขึ้นฝั่งอินโดนีเซีย