ท่ามกลางกระแสต่อต้านมุสลิมในอินเดีย นักศึกษาคลุมฮิญาบ คว้าเหรียญรางวัลด้านวิศวกรรม 16 เหรียญ
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: นักศึกษาคลุมฮิญาบ ทุบสถิติคว้า 16 เหรียญวิศวกรรม
ท่ามกลางกระแสต่อต้านมุสลิมในอินเดีย นักศึกษาคลุมฮิญาบ คว้าเหรียญรางวัลด้านวิศวกรรม 16 เหรียญ
บุชรอ มาทีน (Bushra Mateen) ซึ่งจบการศึกษาด้านวิศวกรรมโยธาในเดือนมีนาคม 2022 ทุบสถิติทั้งหมดด้วยการคว้าเหรียญรางวัล 16 เหรียญต่อเนื่องกัน
Bushra Mateen คว้าเหรียญวิศวกรรม 16 เหรียญ
บุชรอ จากเขต Raichur เมืองกรรณาธกะ สวมชุดฮิญาบขึ้นรับรางวัลจากมือของผู้มีเกียรติหลายท่าน ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ นาย Om Birla ประธานโลกสภา (Lok Sabha), นายธาวาจันทร์ กีลอต ผู้ว่าการรัฐ และ CN Ashwath Narayan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในพิธีที่จัดขึ้นที่ห้องประชุมเบลกาวี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมา
ในประวัติศาสตร์ 21 ปีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีวิเชษวาราญา (VTU) นับเป็นครั้งแรกที่มีผู้ทำสถิติกวาดรางวัลทั้งหมด โดยบุชรอจบการศึกษาจากวิทยาลัยวิศวกรรม SLN ใน Raichur
บุชรอ ให้สัมภาษณ์ ว่าเธอเป็นเด็กที่เรียนดีมาโดยตลอด และในระดับเตรียมอุดมศึกษา คะแนนผ่านการสอบของเธออยู่ที่ราว 93% เคล็ดลับการเรียนของเธอคือ เธอจะเรียนอย่างจริงจังเพียงวันละ 4-5 ชั่วโมง และใช้เวลาราวหนึ่งชั่วโมงครึ่งในการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาในวันก่อน เธอไม่ได้ตั้งใจเรียนอย่างที่สุดในชั้นเรียน เพียงแต่เรียนให้รู้ในแต่ละบทและหัวข้อของวิชานั้นก็พอใจแล้ว นักศึกษาคนอื่น ๆ อาจจะนำคำถามเก่าของปีที่ผ่านมามาศึกษา แต่อาจจะละเลยบางหัวข้อที่เห็นว่าไม่สำคัญ แต่เธอจะศึกษาทุกหัวข้อและไม่ปล่อยให้พลาดสิ่งใดไป
Bushra Mateen คว้าเหรียญวิศวกรรม 16 เหรียญ
เธอเล่าว่า พ่อของเธอเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเธอ รวมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้เธอเลือกเรียนสาขานี้ อีกทั้งพี่ชายก็มักจะสร้างแรงจูงใจให้กับเธอตลอดช่วงที่เรียนปริญญาตรี ที่บ้านของเธอไม่มีการบังคับ และเธอมีอิสระที่จะเลือกเรียนทุกอย่างที่ต้องการ
ชี้ค ซาฮีรุดดีน บิดาของเธอเป็นข้าราชการในฝ่ายวิศวกรรมโยธา ส่วนมารดา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเช่นเดียวกัน แต่ทำหน้าที่แม่บ้าน พี่ชาย ชี้คทันวีรุดดีน ก็จบปริญญาตรีเช่นเดียวกัน น้องสาวคนเล็ก กอวี ฟัยซาร์ กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์
Bushra Mateen คว้าเหรียญวิศวกรรม 16 เหรียญ
บุขรอ ฝากข้อคิดไว้ให้คนอื่น ๆ โดยเฉพาะผู้หญิงว่า จงอย่าให้อุปสรรคต่าง ๆ มาเป็นข้อจำกัดในการศึกษา โดยเฉพาะอายุ เพราะไม่มีใครแก่เกินเรียน สำหรับผู้หญิงที่อาจจะต้องหยุดเรียนไปกลางคันไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เธอขอให้พยายามเรียนต่อจนจบปริญญาตรี เพราะนั่นจะทำให้พวกเธอมีอิสระในด้านปัจจัยยังชีพ อีกสิ่งที่สำคัญ คือ อย่าปล่อยให้ความคิดเห็นของคนอื่นมาครอบงำเราได้ แต่จงมุ่งมั่นในเป้าหมายของแต่ละคนและเดินให้ถึงจุดหมาย การยืนหยัดโดยไม่ยอมแพ้จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ ในที่สุด
ต่อคำถามสุดท้ายที่ผู้สัมภาษณ์ถามเธอว่า เธอมีความเห็นอย่างไรต่อความขัดแย้งในเรื่องฮิญาบที่กำลังเกิดขึ้นในอินเดีย บุชรอ ตอบว่า เธอสวมชุดฮิญาบในพิธีประกาศการสำเร็จการศึกษา ประเทศอินเดียแม้จะใช้ระบบเซคิวล่าร์ แต่ก็เป็นประเทศที่มีประชาธิปไตย การเลือกที่จะแต่งกายอย่างไร รวมทั้งการสวมฮิญาบเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รับประกันโดยรัฐธรรมนูญของอินเดีย ที่ทุกคนได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติตามที่ศาสนากำหนด เธอแน่ใจว่า มุสลิมในอินเดียจะได้รับความยุติธรรมในศาลฎีกา อินชาอัลลอฮ์
ที่มา: www.muslimmirror.com
https://news.muslimthaipost.com/news/36134
- มหาลัยในเยอรมัน ขอโทษ เหตุเลือกปฏิบัติต่อมุสลิม
- ห้ามนักเรียนสวมฮิญาบ จนท.สหรัฐฯ ทวิตตำหนิอินเดีย!
- มาลาลา ยูซาฟซัย เรียกร้องผู้นำอินเดียยุติกีดกันสตรีมุสลิม
- ประเทศใดในยุโรปที่ 'อิสลาม' จะมาแทนที่ศาสนาคริสต์
- ข่าวอคติ-ต่อต้านมุสลิม สื่ออังกฤษเผยวิจัย ถึงกับอึ้ง!
- รร.โร่ขอโทษ คลิปนักเรียนละหมาด ท่ามกลางหนาวเย็น
- สถิติ! ศาสนาใดที่ใหญ่ที่สุดในโลก 4 ทศวรรษข้างหน้า
- รมต.รัฐอุตตรประเทศ อ้าง! มุสลิมควรเคารพเทพเจ้าอินเดียเป็นบรรพบุรุษ