สหรัฐอเมริกา - ประเทศสมาชิกอ่าว (GCC) ออกแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา หลังเสร็จสิ้นการประชุมสุดยอดเจดดะฮ์
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: ปิดฉากประชุมสุดยอดเจดดะฮ์ สหรัฐ-ประเทศสมาชิกอ่าว ออกแถลงการณ์ร่วม
สหรัฐอเมริกา - ประเทศสมาชิกอ่าว (GCC) ออกแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา หลังเสร็จสิ้นการประชุมสุดยอดเจดดะฮ์ ระหว่างผู้นำประเทศสมาชิกอ่าว กับประธานาธิบดีโจ ไบเดน
ผู้นำประเทศ GCC เน้นย้ำความเป็นหุ้นส่วนครั้งประวัติศาสตร์กับสหรัฐอเมริกา และยืนยันความกระตือรือร้นในการสร้างความสำเร็จจากการประชุมสุดยอดที่มีขึ้นครั้งก่อน ๆ และครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
ในระหว่างการประชุมบรรดาผู้นำได้ยืนยันความมุ่งมั่นที่จะรับประกันความมั่นคง และเสถียรภาพของภูมิภาค และแสดงการสนับสนุนความพยายามทางการทูตทั้งหมด ที่มีเป้าหมายเพื่อลดความตึงเครียดในภูมิภาค
ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือในด้านระดับของความมั่นคง ข่าวกรอง การป้องกัน และเพิ่มความพยายามในการรับประกันความปลอดภัยของการเดินเรือ
มีการออกแถลงการณ์ร่วมที่ระบุว่า “ประเทศสมาชิกอ่าว ยินดีต้อนรับสหรัฐอเมริกา .... เป็นการยืนยันว่าจะทำงานร่วมกับ GCC เสมอ เพื่อยับยั้งและเผชิญหน้ากับภัยคุกคามภายนอกทั้งหมดต่อความมั่นคง (ของ GCC) และต่อทางเดินทางทะเลที่สำคัญ โดยเฉพาะช่องแคบฮอร์มุซ และบ๊าบ อัล-แมนเดบ“
บรรดาผู้นำยืนยันถึงความกระตือรือร้นในการพัฒนาความร่วมมือ และการประสานงาน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านการป้องกันและเผชิญหน้าภัยคุกคามจากโดรน ขีปนาวุธ และอาวุธต่าง ๆ ของกลุ่มติดอาวุธก่อการร้าย พวกเขายังแสดงความพยายามในการรับประกันว่า พื้นที่น่านน้ำอ่าวยังคงปราศจากอาวุธทำลายล้างสูง ซึ่งหมายถึงการป้องกันอิหร่านจากการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์
ที่ประชุมยังแสดงความยินดีต่อการร่วมจัดตั้ง “หน่วยปฏิบัติการร่วม 59 “ ซึ่งจะเสริมสร้างการประสานงานด้านการป้องกันระหว่างประเทศสมาชิกอ่าว และกองบัญชาการกลางสหรัฐ ในการตรวจจับภัยคุกคามทางเรือ
ผู้นำสหรัฐอเมริกาและผู้นำประเทศ GCC เน้นย้ำความมุ่งมั่นของพวกเขาในการปรับปรุงการประสานงาน เพื่อสนีบสนุนความพยายามที่มุ่งช่วยเหลือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และเพื่อจัดการกั้บผลกระทบทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 และสงครามในยูเครน
สหรัฐอเมริกา แสดงความยินดีกับการตัดสินใจของกลุ่มประสานงานอาหรับ ในการจัดหาเงินอย่างน้อย 10,000 ล้านดอลล่าร์ เพื่อช่วยเหลือด้านความมั่นคงทางอาหารในระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ ในขณะที่ผู้นำประเทศอ่าวแสดงความยินดีกับ ปธน.สหรัฐอเมริกาที่จะมอบเงิน 1,000 ล้านดอลล่าร์ เพื่อช่วยเหลือด้านความมั่นคงทางอาหารในระยะใกล้ และระยะยาว สำหรับภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
บรรดาผู้นำประเทศแสดงความชื่นชมความพยายามของ OPEC+ ในการบรรลุเสถียรภาพของตลาดน้ำมันทั่วโลก ในการให้บริการผลประโยชน์ของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และยินดีกับการตัดสินใจล่าสุดของโอเปค ที่จะเพิ่มการผลิตในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ปีนี้
ที่มา: www.english.alarabiya.net