เช็ครายชื่อเจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกาที่ลาออกเพื่อประท้วงนโยบายของไบเดน
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์ : เช็ครายชื่อ จนท.สหรัฐฯลาออก ประท้วงนโยบายกาซาของไบเดน
เช็ครายชื่อเจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกาที่ลาออกเพื่อประท้วงนโยบายของไบเดน
การสนับสนุนอิสราเอลของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ในช่วงสงครามเกือบ 9 เดือนในฉนวนกาซา ได้กระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ในส่วนการบริหารของสหรัฐอเมริกา อย่างน้อย 9 คน ลาออก โดยบางคนกล่าวหาว่า ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เมินเฉยต่อความโหดร้ายของอิสราเอลที่กระทำต่อปาเลสไตน์
ฝ่ายบริหารของไบเดนปฏิเสธสิ่งนี้ โดยชี้ไปที่การวิพากษ์วิจารณ์ การบาดเจ็บล้มตายของพลเรือนในกาซา และความพยายามในการส่งเสริมความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวกาซา ซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกล่าวว่า มีผู้เสียชีวิตเกือบ 38,000 รายในการโจมตีของอิสราเอล
อิสราเอลเปิดฉากโจมตีกาซา หลังจากนักรบฮามสบุกข้ามาเข้าไปในอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม โดยอิสราเอลอ้างว่าฮามาสคร่าชีวิตคนไปราว 1,200 คน และจับตัวประกันกลับไป 250 คน ต่อมา สื่อ Haaretz ของอิสราเอล ได้เปิดเผยว่า เฮลิคอปเตอร์และรถถังของกองทัพอิสราเอล ได้สังหารทหารและพลเรือนอิสราเอลราว 1,139 ราย ด้วยความเข้าใจผิด และอ้างว่าฮามาสเป็นผู้สังหารพวกเขา
รายชื่อของเจ้าหน้าที่บริหารของไบเดน ที่ลาออก ได้แก่
1. มัรยัม ฮัสเซนอิน (Maryam Hassanein) ผู้ช่วยพิเศษของกระทรวงกิจการภายใน ลาออกหลังตำหนินนโยบายต่างประเทศของไบเดน ว่า เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และลดทอนความเป็นมนุษย์ของชาวอาหรับและมุสลิม
2. สเตซี กิลเบิร์ต (Stacy Gilbert) ทำงานในสำนักงานประชากร ผู้ลี้ภัย และการย้ายถิ่นของกระทรวงต่างประเทศ ลาออกเมื่อเดือนพฤษภาคม ปีนี้ เพราะเห็นว่า รายงานของฝ่ายบริหารต่อสภาคองเกรสมีข้อความเป็นเท็จ ที่ว่า อิสราเอลไม่ได้ขัดขวางความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในกาซา
3. อเล็กซานเดอร์ สมิธ (Alexander Smith) ผู้รับสัญญาโครงการของ USAID ลาออกเมื่อเดือนพฤษภาคม ปีนี้ เพราะเห็นว่ามีการเซ็นเซอร์ และยกเลิกการพิมพ์การนำเสนอของเขาเกี่ยวกับการตายของแม่และเด็กชาวปาเลสไตน์
4. ลิลี กรีนเบิร์ก คอลล์ (Lily Greenberg Call) เป็นชาวยิวคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งทางการเมืองเมื่อเดือนพฤษภาคม และลาออก โดยกล่าวว่า “ในฐานะชาวยิว ฉันรับไม่ได้เกี่ยวกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในฉนวนกาซา”
5. ฮาลา ราริต (Hala Rharrit) โฆษกภาษาอาหรับของกระทรวงการต่างประเทศ ลาออกเพื่อต่อต้านนโยบายฉนวนกาซาของสหรัฐอเมริกา
6. แอนแนลล์ ชีลีน (Annelle Sheline) ลาออกจากสำนักงานสิทธิมนุษยชนของกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา เธอเขียนบทความใน CNN ว่า เธอไม่สามารถรับใช้รัฐบาล “ที่เปิดทางให้เกิดความโหดร้ายเช่นนี้”
7. ทาริค ฮาบาช (Tariq Habash) ชาวอเมริกันเชื้อสายปาเลสไตน์ ลาออกจากตำแหน่งผู้ช่วยพิเศษในสำนักงานวางแผนของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมา เขากล่าวว่า ฝ่ายบริหารไบเดน กำลังมองข้ามความโหดร้ายในกาซา
8. พันตรี แฮริสัน มานน์ (Harrison Mann) เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองกลาโหม ลาออกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับนโยบายกาซา และเปิดเผยต่อสาธารณะพร้อมเหตุผล
9. จอช พอล (Josh Paul) ผู้อำนวยการสำนักกิจการการเมืองการทหาร ของกระทรวงการต่างประเทศ ลาออกตั้งแต่เดือนตุลาคม ปีที่ผ่านมา โดยเปิดเผยต่อสาธารณะ อ้างถึงสิ่งที่เขาอธิบายว่า สิ่งที่ไบเดนทำ “เป็นการสนับสนุนที่มองไม่เห็นของวอชิงตันต่ออิสราเอล
ที่มา: www.middleeastmonitor.com
https://news.muslimthaipost.com/news/38333
- ซาอุฯ ออกพระราชกฤษฎีกาให้สัญชาติใครบ้าง?
- ผู้นำอิหร่านคนใหม่ หนุนกลุ่มฮิซบอลเลาะฮ์อย่างต่อเนื่อง
- โบสถ์คริสต์ประท้วง อิสราเอลสั่งปิดโรงพยาบาล
- ฮามาสกล่าวหาเนทันยาฮู ขัดขวางเจรจาฉนวนกาซา
- ส.ส.อังกฤษเชื้อเยเมนคนแรก ให้คำมั่นจะต่อสู้เพื่อหยุดยิงกาซา
- เทศกาล K-POP แฟนๆ วิจารณ์สนั่น มีส่วนร่วมอิสราเอล
- ช็อก! ยอดเสียชีวิตในกาซาอาจเกิน 186,000 ราย
- ปธน.ตุรเคียเสนอตัวช่วยยุติ สงครามรัสเซีย-ยูเครน
- ออสเตรเลียสั่งพักงาน ส.ส.มุสลิม หนุนรับรองปาเลสไตน์
- ผอ.โรงพยาบาลอัล-ชิฟาถูกปล่อยตัว อิสราเอลพยายามยัด 3 คดี