เวทีฮาลาลเดือด รมชมนัญญา ไทยเศรษฐ์ ปะทะกรรมการอิสลามฯ ปมตั้งองค์กรมหาชน
เวทีฮาลาลเดือด! รมช.มนัญญา ปะทะกรรมการอิสลามฯ ปมตั้งองค์กรมหาชน
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563 ที่ภัตตาคารสินธรสเต็กเฮาส์ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (กอท.) ได้จัดโครงการอบรมสัมมนาหน่วยรับรองฮาลาลทั่วราชอาณาจักร ประจำปี 2564 มีนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดการสัมมนา
โดยมีคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ประธานฝ่ายกิจการฮาลาลประจำคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ฝ่ายตรวจสอบ และฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการฮาลาล จากทั่วประเทศ เข้าร่วมประมาณ 500 คน
นายณรงค์เดช สุขจันทร์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางฯ กล่าวรายงานว่า การจัดการสัมมนา เพื่อกำหนดเป้าหมายการทำงานของกิจการฮาลาล รวมทั้ง สรุปการทำงานที่ผ่านมา เพื่อพัฒนากิจการฮาลาลของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับทั่วโลก โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบการฮาลาลขอรับรองฮาลาล จำนวน 150,000 ผลิตภัณฑ์ ขายสินค้าไปทั่วโลก
ด้านน.ส.มนัญญา กล่าวว่า เมื่อได้รับเชิญไปที่ไหน ก็จะบอกกับผู้จัดงานว่า จะพูดตรงไปตรงมา ในมีแนวทางที่จะออกกฎหมาย ให้การบริการกิจการฮาลาลเป็นองค์การฮาลาลมหาชน เป็นหน่วยงานราชการที่มีการบริหารที่อิสระ ได้รับการสนับสนุนการทำงานจากภาครัฐ มีการสนุนสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ในจังหวัด ก็จะมีผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจ มีส่วนร่วม เมื่อมีการไปตรวจสอบ ก็จะได้รับการสนับสนุนการทำงาน ไม่มีข้อครหา
"ส่วนตัวตอนเด็ก ก็ได้แต่ดูข่าว และคิดว่า มีสิ่งที่จะต้องพัฒนาปรับปรุง เมื่อได้เป็นรัฐมนตรี ซึ่งส่วนตัวไม่ต้องการเป็นรัฐมนตรี ที่ครอบครัวมีมติให้เป็น เมือรับตำแหน่งก็ต้องการทำหน้าที่ให้ดี เพื่อไปตอบคำถามในอาคีเราะห์ได้ ที่ผ่านมา เรื่องฮาลาล เราทำได้ดี แต่ยังมีข้อครหา เสียงพูด ฮาลาล ห้าล้าน บ้าง หรือเวลาไปที่ไหน มีผู้ประกอบการพูดว่า ขอฮาลาลแพง 50,000 บาท ในฐานะที่เป็นมุสลิม เราจะรู้สึกอย่างไร จึงคิดว่า จะผลักดันให้ฮาลาลเป็นองค์การฮาลาลมหาชน" น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ กล่าว
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหการณ์ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องของฮาลาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ได้ให้ความสำคัญ เพราะฮาลาลมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ก็ได้มอบหมายให้ตน ในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีมุสลิมรับผิดชอบเรื่องการผลักดันกฎหมาย ก็ได้มีการปรึกษากับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และอยากให้ที่สัมมนาในวันนี้ ได้แสดงความคิดเห็น
หลังข้อเสนอของ น.ส.มนัญญา ให้นำเรื่องฮาลาลจัดตั้งเป็นองค์กรมหาชน ได้มีคำถามจากผู้เข้าร่วมประชุมอย่างกว้างขวาง ดร.ปกรณ์ ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันมาตฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย ได้กลุกขึ้นสนับสนุนการจัดตั้งว่า เป็นเรื่องที่ดี นายประดิษฐ์ รัตนโกมล ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ตั้งคำถามว่า คณะกรรมการกลางอิสลามฯ และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดจังหวัด ใช้หลักการศาสนาการตรวจสอบฮาลาล และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในองค์กร อยากถามว่า หากมีองค์การมหาชนฮาลาล จะกระทบตรงนี้หรือไม่
เช่นเดียวกับ ผช.ดร.วุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ เลขานุการคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ตั้งคำถามเช่นเดียวกันว่า ปัจจุบันการทำงานขององค์กรศาสนา ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล ค่าใช้จ่ายนำมาจากการฝ่ายฮาลาล หากมีการจัดตั้งองค์การมหาชน จะกระทบต่อการทำงานขององค์กรศาสนาหรือไม่
น.ส.มนัญญา กล่าวว่า การจัดตั้งองค์การมหาชน ไม่มีผลกระทบ แต่จะทำให้การทำงานขององค์กรศาสนาได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ จะทำให้การทำงานมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีมากกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม เวทีสัมมนา มาถึงจุดเดือด เมื่อนายสมัย เจริญช่าง รองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดกรุงเทพฯ ได้ลุกขึ้นอภิปราย โดยระบุว่า ที่ผ่านมา เรื่องฮาลาลมีการนำภาพลบไปพูด ทั้งที่ฮาลาลของไทยมีเรื่องดีมากมาย กิจการฮาลาลของไทยได้รับการยอมรับ ในฐานะที่เป็นองค์กรมุสลิมในประเทศไทยที่ไม่ใช่มุสลิม มีความเป็นเอกภาพ เป็นประเทศที่มาตราฮาลาลตราเดียว เมื่อเทียบกับหลายประเทศที่มีหลายตรา ที่ผ่านมาทำงานโดยไม่ใช้งบประมาณภาครัฐ การไปของบประมาณจากรัฐ ดูเหมือนเราเป็น "ขอทาน" และขอให้รัฐมนตรีประสานกับกระทรวงกาารต่างประเทศไปดูแล กรณีที่องค์กรฮาลาลของอินโดนีเชีย เข้ามาแทรกแซงเรื่องกิจการฮาลาลในประเทศไทย ไม่เคารพกฎหมาย
การอภิปรายของนายสมัย ทำให้ น.ส.มนัญญา ตอบโต้ว่า เป็นการการพูดที่มีอคติ และคำว่า ขอทาน เป็นคำพูดที่แรง ขอให้ถอนคำพูด ไม่สามารถจะพูดได้ และเป็นคำพูดที่ย้อนแย้ง เพราะในขณะที่ท่านไปตรวจสอบฮาลาล ท่านก็ไปรับเงินจากเขาเช่นเดียวกัน
"อยากให้ที่ประชุมร่วมแสดงความคิดเห็น โดยเขียนความส่งมา เพื่อนำไปประกอบการพิจารณา หากพวกเราไม่เห็นด้วย ก็จะได้ไปบอกนายกฯ ให้พับการเสนอกฎหมายไป หากพวกเราเห็นด้วย ก็จะได้เดินหน้าต่อไป" น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ กล่าวทิ้งท้าย
น.ส.มนัญญา ให้สัมภาษณ์ว่า การผลักดันกฎหมาย จัดตั้งฮาลาลเป็นองค์การมหาชน เป็นเพียงแนวคิดที่ต้องการผลักดัน จากนี้ไปก็จะไปจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษา ซึ่งก็แล้วแต่คณะกรรมการกลางฯว่า จะเสนอใครเข้ามา รายละเอียดยังบอกไม่ได้ชัดเจน อยู่ที่คณะทำงานจะศึกษา
"ยืนยันว่า การจัดตั้งองค์การมหาชน ไม่กระทบต่อการทำงานของคณะกรรมการกลางฯ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เกี่ยวกับฮาลาล แต่จะช่วยให้การทำงานมีความคล่องตัว มีการประสานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ อย. กรมปศุสัตว์ ทำให้การทำงานได้ดีขึ้น" รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวในที่สุด
อย่างก็ตาม แนวคิดจัดตั้งองค์การมหาชนฮาลาล เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในหมู่ กอท. และกอจ. มีการนำเรื่องนี้มาถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ทั้งบนเวที และกาารจับกลุ่มสนทนา
"อยากให้ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นว่า เรื่องฮาลาลที่เราได้ต่อสู้ผลักดันมายาวนาน จะตกไปอยู่ในมือของคนอื่นหรือไม่" นายธวัชชัย นิมา เลขานุการกอจ.พระนครศรีอยุธยา กล่าว
ที่มา: www.mtoday.co.th
- ฮาลาลจ่ายภาษีหรือไม่ เงินฮาลาลนำไปทำอะไร เงินเดือนอิหม่าม 18,000 เชียวหรือ?
- สุดเถื่อน! ICE บังคับให้ผู้กักขังมุสลิมกินหมู
- เนื้อหมูกับเนื้อวัว ต่างกันยังไง แยกแยะด้วยข้อสังเกต 7 ประการ
- เผยผลตรวจ DNA หมูในตัวอย่างเนื้อ ถึงกับตะลึง!
- ประชุมด่วน หมูปลอมเป็นวัว โดยศูนย์วิทยาศาตร์ฮาลาล เปิดเผยแหล่งที่มา
- ตะลึง! คาถ้วยก๋วยเตี๋ยว สุ่มตรวจเนื้อวัว เจอ “หมู” หลายย่านชุมชนมุสลิม