ประตูมักกะฮ์ ‘gateway to the heart of Islam’ เป็นโครงสร้างอันงดงามที่สร้างครอบคลุมความกว้างของทางหลวงสาย เจดดะฮ์-มักกะฮ์
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: ใครคือผู้ออกแบบ 'ประตูสู่หัวใจของศาสนาอิสลาม' นครมักกะห์
ประตูมักกะฮ์ ‘gateway to the heart of Islam’ เป็นโครงสร้างอันงดงามที่สร้างครอบคลุมความกว้างของทางหลวงสาย เจดดะฮ์-มักกะฮ์ ได้ต้อนรับผู้มาเยือนเมืองสำคัญของอิสลามมานานถึง 34 ปี
เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการประกาศโดยเจ้าชายคอลิด อัล-ฟัยซาล ผู้ว่าการนครมักกะฮ์ ว่าจะมีการเปิดเผยรายชื่อของผู้ที่อุทิศตนในการสร้างโครงสร้างนี้ เพื่อให้ได้ปรากฏเป็นเกียรติยศ ตามความต้องการของ Dia Aziz Dia ผู้ออกแบบประตูอันสง่างามนี้
Dia Aziz Dia ผู้ออกแบบประตูมักกะฮ์อันสง่างามนี้
เจ้าชาย บาเดอร์ บิน อับดุลเลาะฮ์ บิน ฟาร์ฮาน รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ซาอุดี้ฯ ได้ทวีตข้อความยืนยันข้อเสนอของนักออกแบบ Dia ซึ่ง Dia ได้กล่าวกับสื่อถึงความสำคัญของโครงสร้างดังกล่าว และเหตุใดประตูนี้จึงมีความสำคัญสำหรับพวกเขาทุกคน ที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้ ซึ่งทุกคนควรจะได้รับเกียรติในการเสียสละ
Dia กล่าวว่า โครงสร้างนี้ถือเป็นประตูสู่หัวใจของมุสลิมทุกคน เป็นประตูสู่หัวใจของศาสนาอิสลาม มักกะฮ์มีกะอฺบะฮฺ อันเป็นบ้านของพระจ้า และเมืองนี้เป็นเมืองสำคัญที่สุดของโลก
ประติมากรรมโค้งขนาดใหญ่นี้ สร้างเป็นรูปอัลกุรอานตั้งอยู่บนลาฮา (แท่นวางรูปตัว X ใช้วางอัลกุรอานเมื่อเปิดอ่าน) อยู่นอกเมืองห่างไปราว 5 ก.ม.มีการเสนอความคิดในการสร้างเมื่อปี 2522 โดยเทศบาลเมืองมักกะฮ์ และบริษัทก่อสร้างที่เป็นคู่สัญญา
- เผยที่มาประตูกะอฺบะอฺ 6 บาน อายุกว่า 5,000 ปี ที่ไม่มีใครเคยรู้!
- ตอวาฟอำลาฮัจญ์ วันสุดท้ายครั้งประวัติศาสตร์ ไม่เกิน 10,000 คน
- รู้หรือไม่? กะอฺบะอฺ เป็นศูนย์กลางของโลก นักวิทย์ค้นพบแล้ว!
Dia Aziz Dia ผู้ออกแบบประตูมักกะฮ์อันสง่างามนี้
Dia กล่าวว่า ในตอนแรกที่จะสร้าง พวกเขาแค่คิดว่า ต้องการสร้างสิ่งก่อสร้างลักษณะเป็นซุ้มอยู่ด้านบน เพื่อให้คนที่เดินทางมาตามทางหลวงต้องลอดผ่าน แต่หลังจากพิจารณาถึงความสำคัญของเมืองมักกะฮ์ แล้ว Dia มีความคิดบางอย่างเกิดขึ้นในใจ เช่น นึกถึงท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และกะอฺบะฮฺ แต่สิ่งที่เขาคิดถึงมากที่สุดคือ อัล-กุรอาน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่างที่พระเจ้าได้มอบมาสู่โลก สิ่งนี้นำไปสู่การค้นหาวิธีที่เหมาะสมที่จะทำให้ผู้คนที่เห็นโครงสร้างนี้ได้รับรู้
เขาได้นำความคิดนี้เสนอไปยังบริษัทและได้รับการยอมรับ รวมทั้งสถาปนิก วิศวกรโยธา และนักประดิษฐ์ตัวอักษร ที่จับมือกันเพื่อสร้างภาพร่างขั้นสุดท้าย ก่อนจะมีการทำแบบจำลองขนาดเล็ก หลังจากนั้น เขาไปยังสำนักงานนายกเทศมนตรีเมืองมักกะฮ์ และนำเสนอแบบจำลองดังกล่าว 2 เดือนต่อมามีประกาศว่า กษัตริย์ฟาฮัด ตกลงที่จะสร้างซุ้มนี้และสวนโดยรอบ การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2528
- จากเคยคิดฆ่าตัวตาย หนุ่มจีนฝันเห็นกะอฺบะอฺ จนศึกษาเข้ารับอิสลาม
- อัลกุรอาน เป็นที่ยอมรับจากสถาบันสอนกฎหมายชั้นนำ 'คัมภีร์ที่ทรงความยุติธรรมที่สุด'
- ยกเลิกทำฮัจญ์ รู้หรือไม่ เคยเกิดขึ้นแล้วเกือบ 40 ครั้ง
ประตูมักกะฮ์ ‘gateway to the heart of Islam’
Dia กล่าวว่า สาเหตุที่เขาต้องการประกาศชื่อผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดในการก่อสร้างซุ้มประตูนี้ เพราะผู้คนมักจะเข้าใจว่า ซุ้มประตูนี้สำเร็จเพราะน้ำมือของชาวต่างชาติ แต่แท้ที่จริงแล้ว มาจากความร่วมมือร่วมใจของชาวซาอุดี้ ฯ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีฝีมือในการทำงานด้านต่าง ๆ จนทำให้ประสบความสำเร็จเป็นรูปร่างที่น่าชื่นชม
ในฐานะศิลปินที่อาวุโสที่สุด และประสบความสำเร็จที่สุดในซาอุดี้ฯ ไม่น่าประหลาดใจเลยที่ผู้มีชื่อเสียง แต่ถ่อมตัวอย่าง Dia จะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างโครงสร้างซุ้มประตูที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดแห่งหนึ่งของราชอาณาจักร เขามีผลงานในวงการศิลปะของซาอุดี้ ฯ มานานกว่า 40 ปี และน่าจะถือได้ว่า ผลงานชิ้นนี้เป็นชิ้นที่สำคัญที่สุดในอาชีพซึ่งเป็นมรดกตกทอดมายัง Dia
เขากล่าวว่า ซุ้มประตูนี้เป็นความสำเร็จที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเขา ตั้งแต่วันเริ่มต้นอาชีพจนถึงวันที่เขาตาย และเขาเชื่อว่า อัลลอฮ์ทรงจัดเตรียมให้เขาเป็นผู้ออกแบบซุ้มประตูเมืองมักกะฮ์ ที่สำคัญแห่งนี้
ประตูมักกะฮ์ ‘gateway to the heart of Islam’
ประตูมักกะฮ์ ‘gateway to the heart of Islam’
ประตูมักกะฮ์ ‘gateway to the heart of Islam’
ประตูมักกะฮ์ ‘gateway to the heart of Islam’
ที่มา: www.arabnews.com
http://news.muslimthaipost.com/news/34856
- ซาอุดี้-กาต้าร์ เปิดพรมแดนอีกครั้ง
- โควิด-19 มุสลิมกว่า 5 ล้านคนได้เข้าทำอุมเราะฮ์ มัสยิดฮะรอม
- อินโดฯจับผู้นำกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ฝืนป้องกันโควิด-19
- เกิดเหตุขับรถแหกด่าน พุ่งเข้าลานมัสยิดฮะรอม (มีคลิป)
- มารู้จัก หญิงคนแรกได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยประธานสภาชูรอคือใคร
- ภาพจำลองมัสยิดฮารอม มักกะห์ในอนาคตอันใกล้
- มัสยิดอายุหลายร้อยปีในซาอุฯ บูรณะขั้นสุดท้ายใกล้สำเร็จแล้ว!
- Sara Haba สตรีคนแรกที่ปั่นจักรยานไปมักกะฮ์