มีการจัดการเลือกตั้งมุฟตีขึ้นในประเทศเลบานอน เป็นครั้งแรก ในรอบ 40 ปี โดยมุฟตี หรือผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาอิสลาม จะเป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือให้ออกคำตัดสิน
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์ : มุสลิมเลบานอนเลือกมุฟตีซุนนี ครั้งแรกในรอบ 40 ปี
รายงานระบุว่า มีการจัดการเลือกตั้งมุฟตีขึ้นในประเทศเลบานอน เป็นครั้งแรก ในรอบ 40 ปี โดยมุฟตี หรือผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาอิสลาม จะเป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือให้ออกคำตัดสิน หรืออรรถาธิบายในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับอิสลาม
สื่อเลบานอน L’Orient Today รายงานอ้างคำกล่าวของ คอลดูน คาวาส หัวหน้าฝ่ายสื่อสารประจำ ดาร์ อัล-ฟัตวา ที่ระบุว่า การจัดลงคะแนนเสียงเลือกมุฟตี ซึ่งจะกลายเป็นบุคคลสำคัญขององค์กรศาสนาอิสลามซุนนีย์สูงสุดของเลบานอน จัดขึ้นใน 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2565 โดยตลอด 40 ปีที่ผ่านมา มุฟตีแห่งสาธารณรัฐ จะเป็นผู้แต่งตั้งมุฟตีประจำภูมิภาค แต่ในปีนี้ ได้สร้างระเบียบปฏิบัติใหม่ที่ถูกต้อง ด้วยการจัดการเลือกตั้ง
ก่อนหน้านี้ ชี้ค อับดุลลาตีฟ ดีเรียน (Sheikh Abdul Latif Derian) มุฟตีใหญ่ ผู้มีอาวุโสสูงสุดของรัฐ ได้เรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งมุฟตีประจำภูมิภาคขึ้น ใน ทริโปลี, อัคคาร์, ซะฮฺเล, รอชาญา, บาอัลเบค-เฮอร์เมล และ ฮัสบาญา-มาร์จาญูน
Mufti Sheikh Abdul Latif Derian
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงเพื่อเลือกมุฟตีได้ โดยคณะกรรมการทั่วไปของหน่วยงานวากัฟอิสลาม จะเป็นผู้ติดสินว่า ใครสามารถมีส่วนร่วมในการลงคะแนนเสียงได้
สื่อยังระบุว่า ผู้ที่สามารถลงคะแนนได้ มีอาทิ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาอิสลามสูงสุด ตุลาการจากฝ่ายซุนนี ประธานกลุ่มวะกัฟ อิหม่าม และสมาชิกสภารัฐธรรมนูญที่เป็นชาวซุนนีย์ นอกจากนั้น ข้าราชการพลเรือนระดับสูง สมาชิกสภาเทศบาล และบุคคลที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำทางการเมืองและศาสนา ที่เป็นซุนนีย์ สามารถมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกมุฟตีได้เช่นกัน
นายกรัฐมนตรีรักษาการ นายนาญิบ มิกาตี ให้คำมั่นขณะทำการลงคะแนนที่ทริโปลี ว่า ไม่มีการแทรกแซงทางการเมืองในการเลือกตั้งครั้งนี้
ถึงแม้จะประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งมุฟตี แต่เลบานอนยังคงไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกประธานาธิบดี เนื่องจากสมาชิกสภานิติบัญญติของเลบานอน ล้มเหลวในการตกลงกันเกี่ยวกับตำแหน่งประมุขแห่งรัฐคนใหม่ แม้จะมีความพยายามเจรจากันหลายครั้ง นับตั้งแต่ นายมิเชล อูน พ้นจากตำแหน่ง
เลบานอน ซึ่งขณะนี้กลายเป็นประเทศที่ประสบวิกฤติแล้ว เนื่องจากไม่มีผู้นำประเทศมานานเกือบ 2 เดือน โดยสุญญากาศทางอำนาจ ทำให้ประเทศกลายเป็นอัมพาตทางการเมืองที่ยังไม่อาจแก้ไขได้
ที่มา: www.newarab.com
https://news.muslimthaipost.com/news/36865
- เปิดเทศกาลดนตรี ครั้งที่ 15 ในอิหร่าน เน้นย้ำแสดงชุมชนมุสลิม-ชนเผ่า
- เรียกร้องสมาคมมุสลิมเลบานอน ในซิดนีย์ รับสตรีเป็นสมาชิก
- กร่างใหญ่อีกแล้ว! ส.ส.พรรครัฐบาลอินเดีย เรียกร้องคว่ำบาตรมุสลิม
- มารู้จัก PFI กลุ่มมุสลิมอินเดียที่ถูกประกาศเป็นกลุ่มนอกกฎหมาย
- มุฟตีเลบานอนวอน ส.ส.ซุนนี หนุนปธน.รวมเป็นหนึ่ง
- พบซากศพในซีเรีย คาดเป็นมุสลิมยุคแรก