มารู้จัก 20 นักบาสเก็ตบอลมุสลิมคนดังของ NBA นักบาสเก็ตบอลมุสลิมทุกคน ปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ และคำสอนของอิสลามอย่างเคร่งครัด
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์ : 20 นักบาสเก็ตบอลมุสลิมคนดังของ NBA
มีนักบาสเก็ตบอล NBA กี่คนที่เป็นมุสลิม? นักกีฬาบางคนเปิดเผยความเชื่อของตน และประกอบศาสกิจอย่างเปิดเผย แต่บางคนถือว่า การนับถือศาสนาเป็นเรื่องส่วนตัว บางคนเป็นมุสลิมโดยกำเนิด ในขณะที่บางคนเปลี่ยนมาเป็นมุสลิมเมื่อไม่นานมานี้ และใครคือนักบาสเก็ตบอลมุสลิมที่เก่งที่สุด
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 20 : ชารีฟ อับดุร-รอฮีม (Shareef Abdur-Rahim)
อดีตตัวส่ง (ฟอร์เวิร์ด) เกิดปี 1976 ที่เมืองมารีเอตต้า รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา เข้าร่วม NBA ในปี 1996 เคยเล่นกับทีม แวนคูเว่อร์ กริซลี และพอร์ตแลนด์ เทรลเบลเซอร์ส์ ต่อมาทำหน้าที่ผู้ช่วยโค้ช และเป็นประธาน NBA G League
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 19 : มะฮ์มู้ด อับดุล-ราอูฟ (Mahmoud Abdul-Rauf) ชื่อเดิม คริส แจ๊คสัน
เกิดปี 1969 ใน Gulfport มิสซิสซิปปี้ สหรัฐอเมริกา เข้ารับอิสลามในปี 1991 เป็นผู้มีศรัทธามั่นคงและเป็นผู้นำในศาสนาของเขา
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 18 : ชากิลล์ โอ’นีล (Shaquille O'Neal)
สัญชาติอเมริกัน เป็นหนึ่งในนักบาสเก็ตบอลมุสลิมที่ดีที่สุด เล่นบาสเก็ตบอลกับ NBA ตั้งแต่อายุ 19 ปี ได้รับเกียรติบันทึกใน Hall of Fame ในปี 2016 ถูกเลี้ยงดูมาโดยแม่ที่เป็นคริสต์ และพ่อเลี้ยงที่เป็นมุสลิม เขาถูกระบุว่าเป็นมุสลิม แต่มักจะพูดเลี่ยง ๆ ว่า เขาเป็นคนของประชาชน เป็นอะไรก็ได้ที่ใครอยากให้เขาเป็น
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 17 : ทาริก อับดุล-วาฮัด (Tariq Abdul-Wahad)
สัญชาติฝรั่งเศส ชื่อเดิม Oliver Michael-St.Jean เปลี่ยนมานับถืออิสลามในปี 1997 ปีเดียวกับที่เข้าร่วม NBA มีพ่อ-แม่ เป็นนักบาสเก็ตบอล
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 16 : เอร์ซาน อิลยาโซวา (Ersan Ilyasova)
สัญชาติตุรเคีย เกิดปี 1987 เข้าร่วม NBA ในปี 2005
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 15 : โอเมอร์ ฟารุก อาซิค (Ömer Aşık)
สัญชาติตุรเคีย เริ่มเล่นบาสเก็ตบอลอาชีด ตั้งแต่เป็นวัยรุ่นในตุรเคีย ได้รับคัดเลือกเข้าร่วม NBA ในปี 2008
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 14 : อินดิรา คาลโจ (Indira Kaljo)
ลูกครึ่งบอสเนีย-อเมริกัน สังกัดทีม เจดดะฮ์ ยูไนเต็ด เธอมีชื่อเสียงจากการสนับสนุนให้สหพันธ์บาสเก็ตบอลนานาชาติ อนุญาตให้มีการคลุมศีรษะในการแข่งขัน
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 13 : เจย์เลน มาร์เซลล์ส บราวน์ (Jaylen Brown)
เกิดปี 1996 สัญชาติอเมริกัน เล่นบาสเก็ตบอลตั้งแต่อยู่มัธยมปลาย จนเข้ามหาวิทยาลัย ได้รับตำแหน่ง NBA All-Star 2 สมัย เป็นหนึ่งในนักเล่นมุสลิมผิวสีที่ขึ้นเร็วที่สุด
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 12 : รอนเด ฮอลลิส-เจฟเฟอร์สัน (Rondae Hollis-Jefferson)
สัญชาติอเมริกัน เข้าร่วม NBA มานาน 6 ปี เป็นหนึ่งในนักบาสเก็ตบอลมุสลิมที่มีชื่อเสียงที่สุด
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 11 : เคนเน็ธ ฟารีด (Kenneth Faried)
สัญชาติอเมริกัน เกิดปี 1989 ในเมืองเนวาร์ค นิวเจอร์ซี่ ติดทีมชาติสหรัฐ ฯ ในปี 2014 เข้าร่วม NBA ในปี 2011
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 10 : ยูซุฟ นูรคิค (Jusuf Nurkić)
สัญชาติบอสเนีย เล่นให้กับทีมชาติบอสเนีย เริ่มเล่นบาสเก็ตบอลตั้งแต่อายุ 14 ปี เคยได้รับตำแหน่งผู้เล่นที่มีอายุน้อยที่สุดแห่งปี ในปี 2014 จัดโดย FIBA Europe เข้าร่วม NBA ในปี 2014
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 09 : อัล-ฟารุค อามินู (Al-Farouq Aminu)
ชาวอเมริกันเชื้อสายไนจีเรีย เข้าร่วม NBA ในปี 2010 เล่นให้ทีมชาติไนจีเรีย จบการศึกษามหาวิทยาลัย Wake Forest เคยได้รับตำแหน่ง All-Star Five ในการแข่งขัน 2015 FIBA Africa Championship
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 08 : ซาลาห์ เมจรี (Salah Mejri)
สัญชาติตูนีเซีย เป็น 1 ใน 10 ตัวท๊อปของผู้เล่นมุสลิมในลีก NBA และเป็นผู้เล่มชาวตูนีเซียคนแรก ที่เข้าร่วมใน NBA ในปี 2015
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 07 : บิลกิส อับดุล-กอดีร (Bilqis Abdul-Qadir)
สัญชาติอเมริกัน เป็น Sport Ambassador ของ @hautehijab ในปี 2020 ได้รับความนิยมขณะเล่นให้กับทีมมหาวิทยาลัยเมมฟิส เคยมีความฝันจะไปเป็นนักบาส ฯ อาขีพในยุโรป แต่ติดที่กฎเณฑ์ของ FIBA ห้ามสวมเครื่องปกคลุมศีรษะที่ยาวเกิน 5 นิ้ว ทำให้เธอโต้แย้ง และเรียกร้องขอข้อยกเว้น FIBA ยินยอมเปลี่ยนกฎในปี 2017 ปัจจุบัน บิลกิส รณรงค์ให้ผู้หญ้งยึดมั่นในตัวเอง โดยใช้การออกกำลังกาย และบาสเก็ตบอลเป็นเวทีแสดงออก
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 06 : เดนนิส ชโรเดอร์ (Dennis Schroder)
สัญชาติเยอรมัน เข้าร่วม NBA ในปี 2013 ในปี 2018 เขาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และเป็นเจ้าของทีมบาสเก็ตบอล Braunschweig ของ Easycredit BBL (บาสเก็ตบอล บุนเดสลีการ์)
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 05 : ดิออน เวตเทอร์ส (Dion Waiters)
สัญชาติอเมริกัน เข้าร่วม NBA ในปี 2012 ได้รับตำแหน่ง NBA Rising Star 2 ครั้ง ในปี 2013 และ 2014
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 04 : อีเนส คันเตอร์ ฟรีด้อม (Enes Kanter Freedom)
ชาวอเมริกันเชื้อสายตุรเคีย เล่นให้กับทีม ยูท่าห์ แจ๊ส และบอสตัน เซลติกส์ และทีมชาติตุรเคีย เป็นหนึ่งในนักบาสเก็ตบอลมุสลิมที่ดีที่สุดใน NBA ได้รางวัล Most Valuable Patriot Award ปี 2022
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 03 : กอร์กุย ซี เดียง (Gorgui Dieng)
ชาวเซเนกัล เป็นนักบาสเก็ตบอลมุสลิมของ NBA จนถึงปัจจุบัน เคยเล่นในรายการ Basketball Without Borders จัดที่แอฟริกาใต้ ในปี 2009 เป็น 1 ใน 60 นักบาสเก็ตบอลอนาคตใกล ที่มาร่วมจากทั่วแอฟริกา ชื่อของเขา Gorgui เป็นภาษาพื้นเมือง มีความหมายว่า ‘The Old One’
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 02 : โอเมอร์ ฟารุก ยูร์ทเซเวน (Omer Yurtseven)
สัญชาติตุรเคีย เล่นเป็นตัวกลางให้ทีม ไมอามี ฮีต และเล่นให้กับทีมเยาวชนของตุรเคีย ได้รับเลือกเป็น Best Five of the 2014 FIBA Europe ในการแข่งขันชิงแชมป์ประเภทอายุต่ำกว่า 16 ปี ในปี 2015 เขาเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่เล่นใน preseason ของ NBA โดยมีอายุเพียง 17 ปี
นักบาสเก็ตบอลมุสลิม อันดับที่ 01 : คัยรี ไอร์วิง (Kyrie Irving)
สัญชาติอเมริกัน เป็นหนี่งในผู้เล่นมุสลิมที่มีชื่อเสียงที่สุด ใน NBA เขาเข้าร่วมในปี 2011
นักบาสเก็ตบอลมุสลิมทุกคน ปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ และคำสอนของอิสลามอย่างเคร่งครัด แฟนบาสเก็ตบอล จะเฝ้าดูการเติบโต และความก้าวหน้าของผู้เล่นเหล่านี้ตลอดไป
ที่มา: www.sportsbrief.com
https://news.muslimthaipost.com/news/37406
- อดีตนักเตะคนดังชาวดัทช์เข้ารับอิสลาม
- นักมวยปล้ำมุสลิมอินเดีย ผู้ไม่เคย..แพ้พ่าย
- ฮิญาบไม่ได้ทำให้ความสามารถทางกีฬาของคุณเสียไป
- ซันนี บิล วิลเลียมส์ มุ่งสร้างมัสยิดหลังชนะคดีคัดค้าน
- Ghanim Al Muftah คือใคร เด็กหนุ่มพิการชาวกาตาร์ ในฟุตบอลโลก 2022
- นักมวยหญิงลูกครึ่งอังกฤษ-โซมาลี คว้าแชมป์ที่ซาอุฯ
- มารู้จัก นักเตะหญิงอินเดียคนแรก ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
- อิลยาส สาดารา กระฉ่อนโลก คว้าทองปันจักสีลัต อินโดนีเซีย
- เข้ารับอิสลามจากการดูซีรีย์ตุรกี Ertugrulเจ็ตส์ จ่อตั้งเฮดโค้ชมุสลิมคนแรก
- เก่งมาก! สาวน้อยเมืองนราฯ สู่แชมป์นักรักบี้ทีมชาติไทย มารู้จักเธอกันเลย?