มัสยิดตุรกี นำศิลปะตัดต่อไม้กลับมาใช้อีกครั้ง หลังจากถูกลืมเลือนไป
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์ : มัสยิดตุรกี นำศิลปะตัดต่อไม้กลับมาใช้อีกครั้ง สวยงาม!
มัสยิดในเขต Kocaeli ของตุรเคีย มีการจัดแสดงลวดลายสวยงามที่นำเทคนิค marquetry (การต่อไม้ โดยการนำไม้ที่มีลายต่างกันมาตัดต่อใหม่ ให้เกิดเป็นรูปเรขาคณิต) ซึ่งใกล้จะถูกลืมเลือนไป กลับมาใช้อีกครั้ง เทคนิคนี้สามารถสืบเนื่องไปได้ถึงยุคอียิปต์โบราณ
- มัสยิดตุรกีหลายร้อยปี สร้างโดยไม่ใช้ตะปูแม้แต่ตัวเดียว
- มัสยิดโคลน อายุ 1,300 ปี ถูกขุดพบในอิรัก
- รู้หรือไม่? เมืองโบราณฮาร์ราน เคยเป็นที่ตั้งมัดรอซะฮ์แห่งแรกของตุรกี และมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก
แนวคิดนี้เกิดขึ้นเมื่อ อะดิล ฟิกเรต ตุรเกส ศิลปินที่มีประสบการณ์ในเทคนิคนี้มานานถึง 35 ปี เสนอแนวคิดในการประดับประดาเสาเปลือยของมัสยิดกลาง เขต Kocaeli และได้รับอนุมัติจากคณะผู้บริหารมัสยิด เขาและทีมช่างฝีมือได้ออกแบบโดยใช้วัสดุที่ทำจากไม้ปิดผิวของเสาดังกล่าว โดยไม่มีการเติมแต่งหรือทาสีใด ๆ กระบวนการนี้ล้วนทำด้วยมือทั้งหมดโดยไม่ได้ใช้เครื่องจักรช่วยแม้แต่น้อย
รูปแบบศิลปะที่สลับซับซ้อนนี้มีอายุย้อนไปถึงยุคอียิปต์โบราณ ถูกนำมาใช้ในสถาปัตยกรรมของเซลจู๊ก (Seljuk) และออตโตมัน และครั้งนี้ได้นำมาใช้กับเสามัสยิดนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
การออกแบบอันน่าทึ่งของมัสยิดกลาง Korfez IIimtepe แห่งเขต Kocaeli มีทั้งลวดลายแบบอิสลาม และรูปแบบเดคาแกรม ที่มักใช้ในการออกแบบของจักรวรรดิออตโตมัน
อะดิล อธิบายว่า รูปแบบต่าง ๆ ถูกสร้างขึ้นโดยการตัดเนื้อไม้แต่ละชิ้นอย่างพิถีพิถัน เพื่อสร้างรูปแบบที่แตกต่างกันไม่ว่าจะมองจากระยะใกล้หรือไกล แม้ว่าแต่เดิมเสาแต่ละต้นจะมีการออกแบบของ Seljuk แต่การออกแบบที่ทำด้วยมือที่แตกต่างกันนั้น ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะในแต่ละเสา
ที่มา: www.dailysabah.com