ทาริค รอมฎอน อดีตศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยออซ์ฟอร์ด พ้นคดีล่วงละเมิดทางเพศหญิงชาวสวิตเซอร์แลนด์
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์ : Tariq Ramadan พ้นคดีล่วงละเมิดทางเพศหญิงสวิตฯ
ทาริค รอมฎอน (Tariq Ramadan) อดีตศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยออซ์ฟอร์ด พ้นข้อกล่าวหาคดีข่มขืน และล่วงละเมิดทางเพศ โดยศาลสวิตเซอร์แลนด์ ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่จะสามารถเอาผิดนักวิชาการชาวสวิตเซอร์แลนด์ ในการพิจารณาคดีที่ประกาศเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ในขณะที่ทนายความฝ่ายโจทก์สาบานทันที ว่า จะอุทธรณ์คำตัดสินในคดีที่ศาลอาญาเจนีวาได้ออกคำพิพากษา
Tariq Ramadan พ้นคดีล่วงละเมิดทางเพศหญิงสวิตฯ
รอมฎอน วัย 60 ปี ถูกกล่าวหาว่า ทำร้ายผู้หญิงชาวสวิตเซอร์แลนด์ ในโรงแรมที่กรุงเจนีวา หลังจากที่ได้พบกับเธอที่งานเปิดตัวหนังสือ ที่เขาไปนั่งเซ็นในเล่ม
รอมฎอน กล่าวว่า หญิงคนดังกล่าวชวนเขาดื่มกาแฟ หลังจากนั้น เธอส่งข้อความไปหาเขา ทำนองว่าอยากไปที่ห้องในโรงแรมที่เขาพักอยู่
ทาริค รอมฎอน นักวิชาการชาวสวิส ฯ ซึ่งเป็นหลานชายของ ฮัสซัน อัล บันนา ผู้ก่อตั้งกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในอียิปต์ กล่าวกับศาลกรุงเจนีวา ว่า เขาปล่อยให้ตัวเองถูกหญิงผู้นี้จูบ แต่ปฏิเสธว่า ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างกัน
Tariq Ramadan พ้นคดีล่วงละเมิดทางเพศหญิงสวิตฯ
หญิงผู้กล่าวหา ซึ่งรู้จักกันในชื่อสมมุติเพื่อความปลอดภัย ว่า บริจิตต์ (Brigitte) อยู่ในวัยกว่า 40 ปี ในขณะที่เธอระบุว่า ตกเป็นเหยื่อของการจู่โจม เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2008 (2551)
เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่ผู้นิยมแนวคิดเซคิวล่าร์ (ฆราวาสนิยม) ว่า รอมฎอน เป็นผู้สนับสนุนการเมืองแบบอิสลาม เขาได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเจนีวา โดยวิทยานิพนธ์ของเขามีเนื้อหาที่เน้นไปที่งานของคุณปู่
เขายังเป็นศาสตราจารย์ด้านอิสลามศึกษาร่วมสมัย ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ในสหราชอาณาจักร จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2017 (2560) และยังทำหน้าที่ในบทบาทของอาจารย์เยือน ที่มหาวิทยาลัยในกาตาร์ และโมร็อกโก
เขาถูกบังคับให้ลาออกจากงานเมื่อถูกกล่าวหาเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศในฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงนั้นมีการร้องเรียนและเปิดเผย เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศของชายผู้มีชื่อเสียงต่อผู้หญิงที่มีความใกล้ชิด หรือที่รู้จักกันในชื่อ ขบวนการ #MeToo ประเด็นของรอมฎอนเกิดขึ้นระหว่างปี 2009 – 2016 (2551 – 2559)
Tariq Ramadan พ้นคดีล่วงละเมิดทางเพศหญิงสวิตฯ
บริจิตต์ ยื่นคำร้องต่อศาลเจนีวา ในเดือนเมษายน 2018 การสืบสวนของทางการสวิตเซอร์แลนด์ ดำเนินไปอย่างช้า ๆ เนื่องจากในตอนแรก รอมฎอน ถูกควบคุมตัวก่อนการพิจารณาคดีในปารีส และทางการสวิตเซอร์แลนด์ ไม่สามารถซักถามได้ หลังจากที่เขาได้รับการปล่อยตัวในเดือนพฤศจิกายน 2018 เขาก็ถูกคุมประพฤติ และห้ามออกจากฝรั่งเศส
อย่างไรก็ตาม เขาได้รับอนุญาตให้ข้ามพรมแดนไปยังสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อเข้าร่วมการพิจารณาคดีที่เจนีวา
ที่มา: www.thenationalnews.com