เรื่องน่ารู้ อัตลักษณ์อาหารฮาลาล มิติศาสนา มิติวัฒนธรรม และมิติสังคม
เรื่องน่ารู้ อัตลักษณ์อาหารฮาลาล มิติศาสนา มิติวัฒนธรรม และมิติสังคม
เขียน/เรียบเรียงโดย : บัญญัติ ทิพย์หมัด
อัตลักษณ์อาหารฮาลาล หมายถึง ลักษณะเฉพาะที่บ่งบอกถึงความเป็นอาหารฮาลาล ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของศาสนาอิสลาม อัตลักษณ์เหล่านี้ ครอบคลุมทั้งมิติทางศาสนา วัฒนธรรม และสังคม (อิสลาม คือศาสนา, มุสลิม คือ ผู้นับถือศาสนาอิสลาม)
มิติทางศาสนา
- วัตถุดิบ: ต้องมาจากสัตว์ที่เชือดตามหลักศาสนาอิสลาม (ผู้เชือดต้องเป็นมุสลิมและมีการกล่าวพระนามของพระผู้เป็นเจ้า:อัลเลาะห์) สัตว์เหล่านี้จะต้องมีสุขภาพดี และถูกเชือดด้วยมีดที่คม ไม่ให้สัตว์ทรมาน วัตถุดิบอื่นๆ เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช จะต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อน และไม่ใช่สิ่งที่ต้องห้ามตามหลักศาสนา
- วิธีการปรุง: จะต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนจากอาหารที่ไม่ฮาลาล อุปกรณ์เครื่องครัวจะต้องสะอาด และไม่เคยสัมผัสกับอาหารที่ไม่ฮาลาลมาก่อน ผู้ปรุงอาหารจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักการของอาหารฮาลาล และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด กรณีอุปกรณ์เคยสัมผัสหรือปนเปื้อนอาหารไม่ฮาลาลจะต้องล้างด้วยสบู่ดินหรือ (ล้างให้ถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติ)
- การบริโภค: จะต้องให้ความสำคัญต่ออาหาร และผู้ปรุงอาหาร จะต้องไม่รับประทานอาหารมากเกินไป และจะต้องไม่ทิ้งอาหารเหลือ ทั้งนี้มารยาทในการบริโภคก็มีส่วนสำคัญในกับเพิ่มความอรรถรสของอาหาร ที่สำคัญยิ่ง คือเพื่อนหรือเรื่องราวการพูดคุยบนโต๊ะอาหารก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ศาสนาอิสลามส่งเสริมสร้างโอกาสอันดีขณะรับประทานอาหาร
มิติทางวัฒนธรรม
- อาหารฮาลาล เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมมุสลิม สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ค่านิยม และประเพณีของชาวมุสลิม
- อาหารฮาลาล เป็นสิ่งบังคับให้มุสลิมทุกคนรับประทาน (มีคำสอนว่า หากทานอาหารที่ไม่ฮาลาล พระองค์อัลเลาะห์จะไม่ตอบรับในผลบุญความดีที่กระทำ) มักถูกใช้ในงานเฉลิมฉลอง งานมงคล และงานศาสนาต่างๆ
- อาหารฮาลาล เป็นตัวช่วยในการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น โดยเฉพาะอาหารฮาลาลตามชุมชนต่างๆของประเทศไทย ที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจนตามภูมิภาคนั้นๆ
มิติทางสังคม
- อาหารฮาลาล เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมด้วยกัน และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม (ต่างศาสนิก)
- ร้านอาหารฮาลาล เป็นสถานที่ที่มุสลิมสามารถมารวมตัวกัน พูดคุย และทำกิจกรรมร่วมกัน และยังเป็นการแสดงภาพลักษณ์อันดีงามของอาหารการกินที่มีประโยชน์กับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
- อาหารฮาลาล เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคที่หลากหลาย ไม่จำกัดแค่เฉพาะชาวมุสลิม กล่าวได้ว่า “อาหารฮาลาล ใครๆก็ทานได้)
โดยสรุป อัตลักษณ์อาหารฮาลาล นั้น มีความหมายมากกว่าแค่การรับประทานอาหาร แต่ยังรวมถึง หลักการ วิธีการ ค่านิยม และประเพณีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อทั้ง มุสลิม และ ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม
ความท้าทายและแนวทางการพัฒนา
- การขาดความรู้: ยังมีมุสลิมจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจหลักการของอาหารฮาลาล อย่างถ่องแท้ อาจจะเกิดปัญหาการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักศาสนา โดยเฉพาะ คำว่า ฮาลาลตอยยิบัน (อาหารที่ดี ถูกสุขลักษณะ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ) และหลายๆครั้ง มุสลิมก็ไม่แสดงจุดยืนที่ควรจะเป็นในการเลือกปฏิเสธการรับประทานอาหารที่ไม่แน่ใจว่าฮาลาลหรือไม่
- การเข้าถึงอาหารฮาลาล: ในบางพื้นที่ อาจจะหาซื้ออาหารฮาลาลได้ยาก ส่งผลให้มุสลิมบางคน ต้องบริโภคอาหารที่ไม่ฮาลาล อันนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสังคมเมืองในปัจจุบัน
- มาตรฐานอาหารฮาลาล: มาตรฐานอาหารฮาลาลในประเทศไทย ถูกกำหนดโดยคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และมีเครื่องเครืองหมายรับรอง หรือที่ทราบกันคือ ฮาลาลขนมเปียกปูน แต่บางครั้งก็มีการสร้างปัญหานั้นคือ มีการปลอมแปลงตราหรือเครื่องหมายรับรองฮาลาล ทั้งนี้ในประเทศไทยยังมีจุดอ่อน คือ ยังไม่มีกฎหมายหรือระเบียบลงโทษผู้ปลอมแปลงเครื่องหมายฮาลาล อย่างชัดเจน (อ้างอิง พรบ.อิสลาม ปี 2540) อีกทั้งหลายๆผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศก็มีตราฮาลาลของประเทศต้นทาง แต่ก็เป็นการยากยิ่งในการตรวจสอบว่า เครื่องหมายดังกล่าวนั้นมีการปลอมแปลงหรือหมดอายุการรับรองฮาลาลแล้วรึไม่ อย่างไร
แนวทางการพัฒนา:
- การให้ความรู้: ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการมาตรฐานการประกอบอาหารฮาลาล แก่ทั้งมุสลิม และผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม
- การสนับสนุนร้านอาหารฮาลาล: ควรมีการสนับสนุนร้านอาหารฮาลาล ทั้งด้านเงินทุน และความรู้ ต่างๆ
- การพัฒนามาตรฐานอาหารฮาลาล เฉพาะร้านอาหารมุสลิมหรือร้านที่เจ้าของเป็นมุสลิมแต่กำเนิด เพื่อยกระดับอย่างเท่าเทียม
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
- เว็บไซต์: https://www.cicot.or.th/
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐานฮาลาล คำอธิบายถึงหลักการทั่วไปของอาหารฮาลาล วัตถุดิบที่ต้องห้าม วิธีการเชือดสัตว์ และวิธีการปรุงอาหารฮาลาล
- Halal Science Center, Chulalongkorn University
- เว็บไซต์: https://www.chula.ac.th/en/cu-services/quality-assurance-services/the-halal-science-center/
- อธิบายถึงกระบวนการผลิตอาหารฮาลาล ตั้งแต่วัตถุดิบ การเชือดสัตว์ การแปรรูป จนถึงการขนส่ง
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารและยา
- เว็บไซต์: https://www.tisi.go.th/
- หลักเกณฑ์วิธีการและมาตรฐานสำหรับการขอรับใบรับรองระบบการรับรองอาหารฮาลาล
- สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
- เว็บไซต์ http://www.muslimthaipost.com
- ความรู้ และความเคลื่อนไหว ที่เกี่ยวข้องกับอาหารฮาลาล
- ฮาลาลไทยแลนด์
- เว็บไซต์ http://www.halalthailand.com
- ข้อมูล บทความน่ารู้ต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าฮาลาลและฮารอม (ต้องห้าม)