อาหารฮาลาลกับสุขภาพ ความสัมพันธ์ที่ถูกประกอบสร้างอย่างเหลือเชื่อ
อาหารฮาลาลกับสุขภาพ ความสัมพันธ์ที่ถูกประกอบสร้างอย่างเหลือเชื่อ
โดยหลักการของอาหารฮาลาลนั้น สอดคล้องกับหลักสุขอนามัยที่ดีหลายประการ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคอาหารฮาลาลมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างลึกซึ้ง เนื่องจากหลักการฮาลาลไม่ได้เพียงแค่เป็นเรื่องของการปฏิบัติตามศาสนา แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพกายและใจของผู้บริโภคในหลายๆ ด้าน ดังนี้:
ความสะอาดและปลอดภัย: อาหารฮาลาลต้องถูกผลิตและเตรียมตามมาตรฐานความสะอาดที่เข้มงวด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การหลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนหรือไม่สะอาดสามารถช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้ ดังจะเห็นว่า อาหารฮาลาลเน้นเรื่องความสะอาดและปลอดภัยของวัตถุดิบและกระบวนการผลิต ทำให้ลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือสารเคมีอันตราย มนุษย์ควรเลือกที่จะบริโภคสัตย์บางชนิด เพราะสัตย์บางชนิดถูกสร้างให้เป็นเหยือของสัตย์ด้วยกันเอง ซึ่งสัตย์เหล่านั้นสามารถทนต่อพิษของเหยือมันได้ แต่มนุษย์มีความเปราะบาง ดังนั้น การเลือกรัประทานสัตย์เลื่อยคลาน หรือสัตย์นักล่า จึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับมนุษย์ที่ทรงคุณค่า
การเลือกสรรวัตถุดิบที่ดีต่อสุขภาพ: การรับประทานอาหารฮาลาลหมายความว่าผู้บริโภคจะหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น หมูหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกห้ามในศาสนาอิสลาม การหลีกเลี่ยงเหล่านี้ช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงหรือสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย การเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งอาหารฮาลาลส่วนใหญ่เน้นการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ธัญพืช เป็นต้น
กระบวนการฆ่าสัตว์อย่างมีมนุษยธรรม: ในการผลิตอาหารฮาลาล สัตว์จะต้องถูกฆ่าโดยวิธีการที่ลดความทุกข์ทรมานและช่วยให้เลือดไหลออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว การไหลออกของเลือดนี้ช่วยลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ เนื้อฮาลาลจึงมักมีคุณภาพสูงกว่าในแง่ของความสด ความสะอาด และปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในเลือด
การหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นพิษหรือสารเคมีที่อันตราย: อาหารฮาลาลต้องปราศจากสารเติมแต่งที่เป็นอันตราย สารเคมี หรือสารกันบูดที่ไม่ได้รับการรับรอง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการบริโภคสารที่อาจก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพในระยะยาว
การเน้นการกินอย่างพอดี: หลักการของฮาลาลยังสอดคล้องกับคำสอนของอิสลามที่เน้นการกินอย่างพอดี ไม่กินมากเกินไปหรือกินน้อยเกินไป ซึ่งการกินอย่างพอดีสามารถช่วยรักษาสมดุลของร่างกายและส่งเสริมสุขภาพที่ดีได้ บริบทหนึ่งที่เห็นชัดเจน คือ เมื่อรับประทานอาหารอิ่มแล้ว ก็ควรออกกำลังกายด้วย และหนึ่งในนั้น เป็นอย่างน้อยคือ การลุกขึ้นละหมาดเป็นประจำทุกวัน วันละ 5 เวลา (ครั้งละ 5 นาทีโดยประมาณ) ซึ่งกินเวลาในการยืดกล้ามเนื้ออย่างน้อยวันละ 30 นาที
ส่งเสริมสุขภาพจิต: การบริโภคอาหารฮาลาลยังช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกสงบและมั่นใจว่าพวกเขาปฏิบัติตามหลักศาสนา ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจและการรักษาความสงบสุขภายใน
งานวิจัย การบริโภคอาหารฮาลาลอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านอื่นๆ
- ช่วยควบคุมน้ำหนัก: เนื่องจากอาหารฮาลาลส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ปรุงสดใหม่ และมีการจำกัดการบริโภคอาหารแปรรูป ซึ่งอาจช่วยลดปริมาณแคลอรี่และไขมันที่ได้รับ อีกทั้งการถือศีลอดในเดือนรอมฏอนเป็นเวลา 30 วัน เสมือนกับว่าโรงงานได้หยุดพักเครื่องจักรบ้างในรอบหนึ่งปี ทำให้สามารถลดน้ำตาล ความดัน ไขมันและอื่นๆได้เป็นอย่างดีเยี่ยม (ยกเว้นหลังละศีลอดยังคงท่านอาหารมากเช่นเดิม)
- ลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง: การบริโภคอาหารฮาลาลที่หลากหลายและสมดุล อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง
สรุปได้ว่า อาหารฮาลาลไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องของศาสนา แต่ยังเกี่ยวข้องกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคอีกด้วย การเลือกบริโภคอาหารฮาลาลจึงเป็นการดูแลสุขภาพของตนเองไปในตัว แต่กระนั้น ผลประโยชน์ด้านสุขภาพที่ได้จากการบริโภคอาหารฮาลาลนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของอาหารที่บริโภค ปริมาณ และรูปแบบการประกอบอาหาร ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
โดยรวมแล้ว อาหารฮาลาลไม่ได้เพียงแค่เป็นอาหารที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ยังเป็นอาหารที่มีคุณภาพสูง สะอาด และปลอดภัย ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งกายและใจของผู้บริโภค
-------------------------
ข้อมูล: บัญญัติ ทิพย์หมัด นักวิจัยเรื่อง การสื่อสารอาหารฮาลาลในสังคมไทย ศรัทธาของมุสลิม
อ้างอิง: • Assuring Tayyib from a food safety perspective in Halal food sector: a conceptual framework (Syed Fazal Ur Raheem, Marin Neio Demirci., 2018) งานวิจัยค้นพบว่าว่าแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยของอาหารและสุขอนามัยเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดฮาลาลและภาคส่วนอาหารฮาลาลควรนำไปปรับใช้เพื่อให้ได้รับการรับรองฮาลาลและฏอยิบ นอกจากนี้ ยังเสนอแนวคิดเกี่ยวกับข้อกำหนดเบื้องต้นของฮาลาล โดยการระบุข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของอาหารและสุขอนามัยในหลักการอิสลาม ทั้งนี้เพื่อให้แนวทางปฏิบัติฮาลาลและฏอยิบมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการปฏิบัติ รักษา และควบคุมยังคงต้องตระหนัก แทนที่จะพึงพาการมีอยู่ของใบรับรองความปลอดภัยด้านอาหารเพียงอย่างเดียว
• Assuring Tayyib from a food safety perspective in Halal food sector: a conceptual framework (Syed Fazal Ur Raheem, Marin Neio Demirci., 2018) งานวิจัยค้นพบว่าว่าแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยของอาหารและสุขอนามัยเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดฮาลาลและภาคส่วนอาหารฮาลาลควรนำไปปรับใช้เพื่อให้ได้รับการรับรองฮาลาลและฏอยิบ นอกจากนี้ ยังเสนอแนวคิดเกี่ยวกับข้อกำหนดเบื้องต้นของฮาลาล โดยการระบุข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของอาหารและสุขอนามัยในหลักการอิสลาม ทั้งนี้เพื่อให้แนวทางปฏิบัติฮาลาลและฏอยิบมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการปฏิบัติ รักษา และควบคุมยังคงต้องตระหนัก แทนที่จะพึงพาการมีอยู่ของใบรับรองความปลอดภัยด้านอาหารเพียงอย่างเดียว
• THE APPLICATION OF FOOD SAFETY CONCEPT WITHIN THE REFERENCE STANDARDS FOR HALAL FOOD IN MALAYSIA: AN OVERVIEW (Norkumala Awang ., 2021) ได้นำเสนอประเด็นด้านความปลอดภัยของอาหารมีบทบาทสำคัญในการรับรองว่าส่วนประกอบ ṭayyib (ดี) ได้รับการปฏิบัติตาม เช่น อาหารที่มีคุณภาพ ดีต่อสุขภาพ ถูกสุขอนามัย และปลอดภัย ดังนั้น หลักการด้านความปลอดภัยของอาหารและฮาลาลจึงเชื่อมโยงกันและแยกจากกันไม่ได้ ในการกำหนดความปลอดภัย สุขอนามัยและคุณภาพของอาหาร—แนวคิดของ ṭayyiban (ฮาลาลและดี) ถือเป็นมาตรฐานหลัก ซึ่งงานวิจัยได้ตรวจสอบความสำคัญของความปลอดภัยด้านอาหารที่ขนานไปกับแนวคิดของ ṭayyiban ในการกำหนดตำแหน่งความปลอดภัยของอาหารในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล เพื่อทบทวนมาตรฐานอ้างอิงที่ใช้ในการรับรองฮาลาลที่สอดคล้องกับแนวคิดของ ṭayyiban ฮาลาลในมาเลเซีย และศึกษาประเด็นด้านความปลอดภัยของอาหารในมาตรฐานอ้างอิงที่ใช้สำหรับอาหารฮาลาลในมาเลเซีย โดยความปลอดภัยของอาหารจะต้องได้รับการเสริมความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดช่องโหว่และการบิดเบือนในการนำไปปฏิบัติ
• Food safety and halal food in the supply chain: Review and bibliometric analysis (Wahyuni, Hana Vanany, Iwan Ciptomulyono, Udisubakti., 2019) นักวิจัยได้ดำเนินการตรวจสอบปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารและอาหารฮาลาลในห่วงโซ่อุปทาน โดยมีการทบทวนงานวิจัย ในช่วงปี 1990 ถึง 2018 มีบทความที่ตีพิมพ์ 120 บทความเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารและอาหารฮาลาล พบว่างานวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารและฮาลาลยังมีช่องว่างให้สามารถทำวิจัยได้อีกมาก โดยเฉพาะความปลอดภัยในห่วงโซอุปทานด้านอาหารฮาลาล ซึ่งคุณค่าและการยอมรับจะเสริมสร้างให้อาหารฮาลาลมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดโลกจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการวิจัยนั้นเอง
https://news.muslimthaipost.com/news/38436
บทความที่น่าสนใจ