10 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาหารฮาลาล คำตอบง่ายๆ ที่เข้าถึงและกระจ่างชัด ทำไม?
10 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาหารฮาลาล คำตอบง่ายๆ ที่เข้าถึงและกระจ่างชัด ทำไม?
โดย: บัญญัติ ทิพย์หมัด
ฮาลาล หรือ Halal เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า “อนุมัติ” เมื่อใช้ร่วมกับ คำว่า อาหาร จึงสื่อความหมายได้ว่า อาหารฮาลาล คืออาหารที่อนุมัติสำหรับมุสลิมในการบริโภคเพื่อการดำรงชีวิต แม้ว่าอาหารฮาลาลจะได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ก็ยังมีหลายคนที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักการและข้อกำหนดของอาหารฮาลาลอยู่มาก ต่อไปนี้คือความเข้าใจผิดที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาหารฮาลาลที่คุณควรรู้
1. ฮาลาลคืออาหารของมุสลิมเท่านั้น จริงหรือ?: ความจริงแล้ว อาหารฮาลาลเป็นอาหารที่ผลิตและปรุงตามหลักการทางศาสนาอิสลาม ซึ่งเน้นความสะอาดและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้นทุกคนสามารถบริโภคอาหารฮาลาลได้ ไม่จำกัดเฉพาะชาวมุสลิม ในปัจจุบันอาหารฮาลาลได้รับการยอมรับในระดับโลกมากขึ้น เพราะวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารล้วนแล้วแต่เป็นวัตถุดิบที่ปลอดภัย อีกทั้งมีจรรยาบรรณด้านคุณธรรม นั้นคือการฆ่าสัตย์จะต้องไม่เป็นการทรมาน และต้องไม่เป็นสัตย์ที่ฉ้อโกงหรือขโมยอีกด้วย
2. อาหารฮาลาลมีรสชาติแตกต่างจากอาหารทั่วไป: รสชาติของอาหารฮาลาลไม่ได้แตกต่างจากอาหารทั่วไป รสชาติของอาหารขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและวิธีการปรุงอาหารมากกว่า ซึ่งกล่าวได้ว่า อาหารเมนูเดียวกัน หากมีวัตถุดิบและการปรุงที่แตกต่างกันก็ส่งผลให้รสชาติต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่า ความอร่อยก็ขึ้นอยู่กับความนิยมชมชอบหรือรสนิยมของแต่ละคนอีกด้วย
ภาพอาหารฮาลาล จากร้านจีระพันธ์
3. อาหารฮาลาลมีราคาแพงกว่าอาหารทั่วไป: ราคาของอาหารฮาลาลหรืออาหารไม่ฮาลาล อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น วัตถุดิบที่ใช้ กระบวนการผลิต สถานที่หรือจุดจำหน่าย และชื่อเสียงของแบรนด์ แต่โดยทั่วไปแล้วราคาของอาหารฮาลาลไม่ได้สูงกว่าอาหารทั่วไปเสมอไปเลย
4. อาหารฮาลาลมีเฉพาะเนื้อสัตว์: อาหารฮาลาลไม่ได้จำกัดเฉพาะเนื้อสัตว์เท่านั้น แต่รวมถึงผัก ผลไม้ ธัญพืช และผลิตภัณฑ์จากนมด้วย ตราบใดที่ผลิตภัณฑ์นั้นผ่านกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามหลักการฮาลาล ทั้งนี้หลายๆร้านอาหาร เมนูอาหารฮาลาลก็จะมีความโด่นเด่นแตกต่างจากร้านทั่วไป ดังเช่น เอกลักษณ์ของไก่ย่างจีระพันธ์ จะมีสีเหลืองทองและมีกลิ่นหอมของเครื่องเทศเบาๆ เป็นต้น
5. อาหารฮาลาลมีแค่ตราฮาลาลเท่านั้น: การมีตราฮาลาลเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ได้หมายความว่าอาหารทุกชนิดที่มีตราฮาลาลจะเป็นอาหารที่มีคุณภาพดีเสมอไป ผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ และเช่นเดียวกัน อาหารที่ไม่มีตรารับรองฮาลาล จะเป็นอาหารต้องห้ามสำหรับมุสลิม นี้ก็เป็นความเข้าใจผิด เพราะอาหารบางชนิดไม่จำเป็นต้องขอรับรับรองเครื่องหมายฮาลาล ดังเช่น พืช ผัก ข้าวสาร หรือน้ำดื่ม ก็ไม่จำเป็นต้องขอรับรองเครื่องหมายตราฮาลาล มุสลิมก็รับประทานได้เช่นกัน
6. อาหารฮาลาลไม่สะดวกในการหาซื้อ: ปัจจุบันมีร้านค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ฮาลาลมากขึ้น ผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการเดินทางในต่างจังหวัด ปั้มน้ำมัน ปตท. ก็มีร้านไก่ย่างเนื้อทอง เปิดบริการมากกว่า 200 สาขาในปัจจุบัน ซึ่งเป็นแบรนด์ฮาลาลของคนไทยนั้นเอง
7. อาหารฮาลาลเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ: อาหารฮาลาลเน้นความสะอาดและบริสุทธิ์ แต่ไม่ได้หมายความว่าอาหารฮาลาลทุกชนิดจะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพเสมอไป การเลือกบริโภคอาหารฮาลาลที่หลากหลายและสมดุลจะช่วยให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน
8. อาหารฮาลาลเป็นอาหารสำหรับคนที่มีรายได้สูง: อาหารฮาลาลมีให้เลือกหลากหลายราคา ตั้งแต่ราคาประหยัดไปจนถึงราคาสูง ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามกำลังทรัพย์
9. ฮาลาลหมายถึงเพียงแค่การไม่ใช้หมูเท่านั้น: แม้ว่าหมูจะถูกห้ามในอาหารฮาลาล แต่ฮาลาลยังครอบคลุมถึงกระบวนการผลิต การจัดเตรียมอาหาร และการรักษาความสะอาดที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม หลายครั้ง การซื้อข้าวมันไก่จากร้านทั่วไป คิดว่ามุสลิมทานได้เพราะไม่มีหมู เป็นความเข้าใจผิด เพราะไก่ไม่ได้เชือดโดยมุสลิม และการปรุงอาหารแบบมุสลิมก็มีกระบวนการล้างทำความสะอาดแตกต่างจากปกติอีกด้วย ยิ่งกว่านั้น ส่วนผสมอื่น เช่น น้ำซอส หรือเหล้าจีน หรือผงปรุงรส อาจจะไม่มีเครื่องหมายรับรองฮาลาล สิ่งเหล่านี้ จึงทำให้ “ร้านข้าวมันไก่ทั่วไป ไม่ใช้อาหารฮาลาลสำหรับมุสลิม”
10. อาหารฮาลาลไม่อร่อย: รสชาติของอาหารฮาลาลไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่มันเป็นฮาลาลหรือไม่ อาหารฮาลาลสามารถอร่อยและมีความหลากหลายในรสชาติได้เหมือนกับอาหารประเภทอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับสูตรและการปรุง ทั้งนี้ ต้องเข้าใจเบื้องต้นว่า พื้นฐานอาหารแต่ละชาติหรือแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน บางครั้งรสชาติของอาหารอาหรับอาจจะไม่ถูกใจคนไทย หรือแม้แต่เบอร์เกอ อาหารสุดอร่อยสำหรับต่างชาติ ซึ่งคนไทยก็ไม่คุ้นเคยกับเมนูอร่อยดังกล่าว สู้ ซุปหางวัว หรือ ข้าวหมกไก่ ของร้านจีระพันธ์ไม่ได้เลย
ข้อมูล: บัญญัติ ทิพย์หมัด นักวิจัยเรื่อง วาทกรรมอาหารฮาลาลในสังคมไทย
อ้างอิง:
- Understanding non-Muslims’ reluctance to halal food: a systematic review (Mohd Anuar Ramli, Muhamad Afiq Abd Razak, Journal of Islamic Marketing, 2021)
- เพื่อนำอาหารฮาลาลเข้าสู่ตลาดโลก จำเป็นต้องประเมินและคาดการณ์แนวโน้มการยอมรับผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลของผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นต่อการยอมรับอาหารฮาลาลในหมู่ผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุสลิม โดยสองประเด็นที่เป็นอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในการยอมรับอาหารฮาลาลในหมู่ผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุสลิม อันได้แก่ ทัศนคติเชิงลบ และการขาดการตระหนักถึงความปลอดภัยของอาหาร ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การรับรู้ว่าคุณภาพอาหาร โลโก้/ตราสินค้าฮาลาล การขาดการตระหนักถึงฮาลาล ความเชื่อทางศาสนา แรงจูงใจของผู้บริโภค การขาดการตลาด/การส่งเสริมการขายที่เหมาะสม ความขัดแย้งทางความคิดที่ไม่ดี การรับประกันอาหารที่ไม่ดี และการตัดสินผลิตภัณฑ์ที่ไม่ดี เป็นต้น
- The emergence of halal food industry in non-Muslim countries: a case study of Thailand. (Mohd Saiful el at, Journal of Islamic Marketing, 2019)
- งานวิจัยสำรวจการพัฒนาของอุตสาหกรรมฮาลาลในประเทศไทย โดยเบื้องหลังความสำเร็จของประเทศในฐานะผู้ส่งออกอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองฮาลาลรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าประเทศไทยจะมีมุสลิมจำนวนไม่มาก ผลการวิจัยคนพบว่าประเทศไทยมีบทบาทสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมฮาลาลระดับโลก เนื่องมาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่คึกคัก ซึ่งช่วยเสริมสร้างการสร้างแบรนด์ฮาลาลของประเทศ มาตรฐานฮาลาล และการสนับสนุน SME ในท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพมีผลต่อการดำเนินการ ซึ่งงานวิจัยได้ตั้งประเด็นที่ว่าประเทศไทยไม่ใช้ประเทศมุสลิมแต่มีศักยภาพเติบโตในมิติอาหารฮาลาลในระดับโลกได้อย่างภูมิใจ
- What makes a non-Muslim purchase halal food in a Muslim country? An application of theory of planned behavior (Dayang et al., 2023)
- ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (TPB) ได้ใช้ในงานวิจัยดังกล่าวนี้ ซึ่งเป็นการศึกษามุ่งเน้นไปที่ผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุสลิม โดยผู้ตอบแบบสอบถามจะสำรวจเจตนาซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล ซึ่งการศึกษาข้อมูลรวบรวมจากแบบสอบถามผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุสลิม 415 รายในมาเลเซีย ผลการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้างระบุว่าการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมต่อผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลของผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุสลิมมีอิทธิพลในเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล
บทความที่น่าสนใจ
- อาหารฮาลาล คืออะไร อธิบายความหมายอย่างง่ายๆ พร้อมยกตัวอย่างอาหารที่ฮาลาลและไม่ฮาลาล
- วาทกรรมอาหารฮาลาล การสื่อสารอัตลักษณ์ของมุสลิมไทย
- เรื่องน่ารู้ อัตลักษณ์อาหารฮาลาล มิติศาสนา มิติวัฒนธรรม และมิติสังคม
- อาหารฮาลาลกับสุขภาพ ความสัมพันธ์ที่ถูกประกอบสร้างอย่างเหลือเชื่อ
- ตัวแปรที่ขับเคลื่อนตลาดอาหารฮาลาล ที่น่าสนใจ!
- 10 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาหารฮาลาล คำตอบง่ายๆ ที่เข้าถึงและกระจ่างชัด ทำไม?