ตะลึง! นางกวักคลุมหัว ระบาดหนัก
ตะลึง! นางกวักคลุมหัว ระบาดหนัก
เรียบเรียง บัญญัติ ทิพย์หมัด
นิยาม: ฮิญาบเป็นมากกว่าแค่ผ้าคลุมศีรษะ เป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อ ศรัทธา และการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางศาสนาของสตรีมุสลิมไทย
การนำสตรีมุสลิม (มุสลิมะห์) คลุมฮิญาบไปบริการหรือขายอาหารที่คลุมเครือ (ไม่มีตรารับรองฮาลาลชัดเจน) เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนและอาจก่อให้เกิดผลกระทบหลายด้าน:
ผลกระทบเชิงลบ:
- สร้างความเข้าใจผิดให้ผู้บริโภค: การที่มุสลิมะห์ “คลุมฮิญาบ” ขายอาหารที่ไม่มีตรารับรองฮาลาล หรือมิใช้ร้านอาหารมุสลิม อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าอาหารนั้นเป็นอาหารฮาลาล โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวในเมืองไทยที่อาจไม่คุ้นเคยกับบริบทของอาหารไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้ “พวกนางใจกล้าพอ ที่จะบอกลูกค้าเหล่านี้ว่า (ไม่ควรทาน/ทานไม่ได้ หรือ มักโระ) เพราะอาหารที่ไม่ฮาลาล และคุณเป็นผู้บริการ บาปกรรมก็เหมือนกับ คุณทานของฮารอม นั้นเอง”
- ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์อิสลาม: การกระทำดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักการของศาสนาอิสลาม และอาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของมุสลิมโดยรวม ปัจจุบันมุสลิมะห์ตกเป็นเหยื่อทุนนิยม "Capitalism" เหล่านี้มากมาย โดยนายทุนพวกนี้ เพียงแค่หวังใช้นางกวักฮิญาบ เรียกลูกค้ามุสลิม
- ละเมิดหลักคำสอนอิสลาม: สำหรับมุสลิมที่เคร่งครัด การมีส่วนร่วมในการขายอาหารที่ไม่ฮาลาล อาจถือเป็นการละเมิดหลักการทางศาสนา อันนี้บาปกรรม อย่างยิ่ง
ประเด็นฝากให้คิด
- เจตนาของเจ้าของร้าน: โดยส่วนมากแล้วร้านเหล่านี้เป็นของต่างศาสนิก ซึ่งถ้าถามถึงจิตใต้สำนึก พวกเขามีเจตนาหลอกลวงผู้บริโภค ถือเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องทั้งในแง่จริยธรรม หลักการอาหารฮาลาล ลำดับที่ 1 คือการเนียต์ (ตั้งใจปราถนา) เทียบกับเราก้มๆเงยๆ แต่เราไม่มีเนียตในการละหมาด เราจะได้ผลบุญจากการละหมาด กระนั้นหรือ ซึ่งในเมื่อเจ้าของร้านที่เป็นต่างศาสนิก ไม่ทราบหลักการเหล่านี้ แล้วจะบอกว่า “ร้านนั้นเป็นฮาลาล กระนั้นหรือ?”
- สื่อสารให้ชัดขจัดปัญหาคลุมเครือ (Confusing communication) : ผู้ประกอบการควรสื่อสารให้ชัดเจนว่าอาหารที่ขายไม่ได้รับรองฮาลาล เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด ไม่ใช้แค่ขึ้นป้าย วาทกรรมมุสลิมทานได้ (มุสลิมคือคน ทานได้ทุกอย่าง) หรือ แค่เขียนว่า “ร้านนี้ไม่มีหมู แล้วถาม เนียตมีไหม ล้างอย่างไร ส่วนผสมมีปนเปื้อนไหม”
ความคิดเห็นส่วนตัว:
ส่วนตัวแล้วมองว่า การนำสตรีมุสลิมคลุมฮิญาบไปบริการหรือขายอาหารที่คลุมเครือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เพราะอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดและส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของศาสนาอิสลาม หากผู้ประกอบการต้องการจ้างพนักงานมุสลิม ควรพิจารณาให้ทำงานในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการขายอาหาร หรือควรขายเฉพาะอาหารฮาลาลเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา
อีกกรณีก็เข้าใจพนักงานมุสลิมว่า ปัญหาเศรฐกิจหรือปัญหาปากท้องก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่ “ไก่กับไข่ ไหนเกิดก่อน” ถ้าเราไม่พยายามหรือไม่คิดจะออกห่างจากการกระทำบาป แล้วเราจะหลุดพ้นจากการลงโทษของพระองค์ได้อย่างไร ขณะที่เรายกมือขอดุอาร์ในละหมาด แต่หลังละหมาด เรายื่นอาหารที่ฮารอม(ต้องห้าม) ให้กับเพื่อนมุสลิม ให้เพื่อนๆที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร รับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักการศาสนาอิสลาม แล้วดุอาร์เราจะได้รับการช่วยเหลือเมื่อไหร่ ถามหัวใจท่านๆดูเองละกัน!!!
ข้อเสนอแนะ:
- เจ้าของกิจการ: ควรสื่อสารอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสถานะฮาลาลของอาหาร และหลีกเลี่ยงการใช้สัญลักษณ์ทางศาสนาอิสลามเพื่อเป็นเครื่องมือทางการตลาด (Marketing tools) ที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด โดยเฉพาะลูกค้ามุสลิมต่างชาติ
- สตรีมุสลิม: ควรพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนรับงานที่อาจฝ่าฝืนคำสั่งของนบีฯ และผิดหลักการอิสลาม และหรือถ้าจำเป็น ก็จงแนะนำให้ร้านดังกล่าวขอรับรองตราฮาลาลอย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดีงาม
- ผู้บริโภค: ควรคิดให้มากและพึงระวังโดยเฉพาะการแค่เห็นสัญลักษณ์มุสลิม บางครั้ง ร้านดังกล่าวก็ใช้ว่าจะขายอาหารฮาลาล ควรตรวจสอบสถานะฮาลาลของอาหารก่อนบริโภค และไม่ควรตัดสินอาหารจากเพียงแค่การแต่งกายของพนักงาน หรือโลโก้ฮาลาลที่อาจจะถูกลอกเลียนแบบ
ถ้ามุสลิมเราไม่ให้เกียรติในเครื่องหมายรับรองอาหารฮาลาล และคุณคาดหวังใครจะไว้ใจเชื่อถือ ช่วยกันผลักดันแก้ไขปรับปรุง สร้างคุณค่าในสิ่งที่ศาสนาให้มากับมุสลิมเป็นสำคัญ “ฮาลาลตอยยิบัน” ตอบัรตัว และพยายามหลีกห่างจากตราบาปเหล่านี้เถิด
ข้อมูลเพิ่มเติม:
วาทกรรม "มุสลิมทานได้" ที่เราพบเห็นในสังคมไทย ซึ่งได้ศึกษาและเทียบเคียงในต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับบริบทและความหมายที่ต้องการสื่อสาร แต่สามารถใช้คำเหล่านี้ได้: (หรือบางประเทศ ก็มีนิยมกัน ดังเช่น มาเลเซีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น เป็นต้น )
- "Halal" - คำนี้มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า หมายถึง สินค้าหรืออาหารที่ผลิตและเตรียมตามหลักศาสนาอิสลาม อันนี้ 100%
- "Muslim-friendly" - เป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและเข้าใจง่าย หมายถึง สินค้า บริการ หรือสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับชาวมุสลิม
- "Suitable for Muslims" – เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ได้
- “NO PORK” ร้านเหล่านี้แค่ไม่มีหมู แต่กระบวนการล้าง หรือผลิต หรืออาจจะมีนายิส ปรากฎในร้าน ดังเช่น ไวท์ เหล้า เบียร์ หรืออาจจะมีเครื่องปรุงพิเศษที่มีเจือปนสิ่งต้องห้ามเป็นต้น
ตัวอย่างการใช้:
- This restaurant serves Muslim-friendly food. (ร้านอาหารนี้เสิร์ฟอาหารที่เหมาะสำหรับชาวมุสลิมไม่ที่ไม่คิดเยอะ)
- Halal Food. (เนื้อทั้งหมดที่เสิร์ฟที่นี่เป็นฮาลาล)
- This hotel provides facilities suitable for Muslims. (โรงแรมนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับชาวมุสลิม)
- "No pork, but alcohol is served" ไม่มีเนื้อหมู แต่มีบริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล
ศึกษาเพิ่มเติม:
- Halal Korean Food In KL: 19 Authentic Korean Restaurants You Need To Try (havehalalwilltravel.com)
- The emergence of halal food industry in non-Muslim countries: a case study of Thailand (researchgate.net)
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2212567116301253
- Researching Muslim consumers: do they represent the fourth-billion consumer segment?
https://www.emerald.com/insight/content/doi/10.1108/17590831211232546/full/html
- Do consumers need halal label? Evidence from small and medium enterprises segment in a major Muslim environment
https://www.emerald.com/insight/content/doi/10.1108/JIMA-12-2021-0401/full/html
บทความที่น่าสนใจ
- 10 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาหารฮาลาล คำตอบง่ายๆ ที่เข้าถึงและกระจ่างชัด ทำไม?
- ทำความเข้าใจกับ เซคิวลาริสม์ ระบบความคิด แยกรัฐกับศาสนา
- ตัวแปรที่ขับเคลื่อนตลาดอาหารฮาลาล ที่น่าสนใจ!
- ตะลึง! นางกวักคลุมหัว ระบาดหนัก
- อาหารฮาลาล คืออะไร อธิบายความหมายอย่างง่ายๆ พร้อมยกตัวอย่างอาหารที่ฮาลาลและไม่ฮาลาล
- วาทกรรมอาหารฮาลาล การสื่อสารอัตลักษณ์ของมุสลิมไทย
- เรื่องน่ารู้ อัตลักษณ์อาหารฮาลาล มิติศาสนา มิติวัฒนธรรม และมิติสังคม
- เปิดประตูสู่โอกาสใหม่ในประเทศซาอุดิอาระเบีย: ไอเดียธุรกิจอาหารฮาลาลที่น่าสนใจยิ่ง
- อาหารฮาลาลกับสุขภาพ ความสัมพันธ์ที่ถูกประกอบสร้างอย่างเหลือเชื่อ