ทำความเข้าใจกับ เซคิวลาริสม์ ระบบความคิด แยกรัฐกับศาสนา
ทำความเข้าใจกับ เซคิวลาริสม์ ระบบความคิด แยกรัฐกับศาสนา
เรียบเรียง : บัญญัติ ทิพย์หมัด
เซคิวลาริสม์ (Secularism) คือ แนวคิดซึ่งมีอุดมการณ์ที่สนับสนุนการแยกศาสนาออกจากระบบของรัฐหรือกิจการของรัฐ
โดยบุคคลหรือหน่วยงามหรือองค์กรที่มีแนวคิดเซคิวลาริสม์ จะมุ่งมั่น(สนับสนุน) ให้ศาสนาและระบบรัฐ แยกอิสระออกจากกัน
หลักสำคัญ: ป้องกันไม่ให้ศาสนามีอิทธิพลหรือควบคุมนโยบายของรัฐ และในทางกลับกัน รัฐก็จะต้องไม่เข้าไปแทรกแซงหรือควบคุมกิจการของศาสนา
ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า แนวคิดนี้ถูกนำมาประยุกต์หรือใช้ในหลายหลายรูปแบบ ดังเช่น
1. แยกการเมืองและศาสนา: รัฐไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของศาสนา และศาสนาก็จะไม่มีอิทธิพลต่อนโยบายหรือกฎหมายของรัฐด้วย
2. เสรีภาพทางศาสนา: ทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา หรือไม่นับถือศาสนาก็ได้ และสำคัญคือ หน่วยงานของรับจะไม่ให้การสนับสนุนศาสนาใดให้ยิ่งใหญ่ หรือสิทธิพิเศษเหนือศาสนาอื่นๆ
3. เป็นกลางทางศาสนา: สร้างความเท่าเทียมกับทุกศาสนาโดยไม่ลำเอียงใดๆทั้งสิ้น
แนวคิดเซคิวลาริสม์มีความสำคัญในสังคมที่มีความหลากหลายทางศาสนาหรือพหุสังคม
แนวคิด เซคิวลาริสม์ (Secularism) มีรากฐานมาจากยุโรปตะวันตกในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) และยุคสว่าง (Enlightenment) ในศตวรรษที่ 16-18 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและการตั้งคำถามต่อบทบาทของศาสนาในชีวิตประจำวันและการเมือง
“การปฏิรูปศาสนา” (Reformation): ในศตวรรษที่ 16
“ยุคตาสว่าง” (Enlightenment): ในศตวรรษที่ 17 และ 18 ปรัชญายุคสว่างเน้นการใช้เหตุผลและวิทยาศาสตร์เหนือความเชื่อทางศาสนา
หมายเหตุ!
ถ้าเราดูหนังสงครามในอดีตของฮอลีวูด ยุคครูเสด ก็จะเห็นได้ชัดว่า การปกครองยุคดังกล่าวนั้น จะมีการปกครองที่ศาสนายิ่งใหญ่มาก ซึ่งอิทธิพลหรืออำนาจเหนือกษัตริย์ด้วยซ้ำไป และหลายๆครั้ง ก็นิยามว่า “ยุคมืด” เพราะประชาชนจะงมงายกับความเชื่อ (หรือความเชื่อก็ถูกนิยามว่าเป็นศาสนา แต่ศาสนาก็มีหลายศาสนา ศาสนาผี หรือความเชื่อสิ่งแปลกๆ ก็ถูกเรียกว่าศาสนา เช่นกัน)
แล้วอะไรละ ที่มีแนวคิดต่างจากเซคิวลาริสม์
แนวคิด เซคิวลาริสม์ (Secularism) ตรงข้ามกับแนวคิด เทโอเครซี (Theocracy) และแนวคิด รัฐศาสนา (Religious State)
1. เทโอเครซี (Theocracy):
เทโอเครซีคือแนวคิดที่รัฐถูกปกครองโดยศาสนาหรือมีผู้นำทางศาสนาที่เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง การตัดสินใจทางการเมืองจะขึ้นอยู่กับหลักศาสนา ตัวอย่างคือประเทศอิหร่าน ที่มีผู้นำสูงสุด “อายะตุลลอฮ์ (Ayatollah) เป็นตำแหน่งทางศาสนาที่มีความสำคัญสูงในศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ (Shia Islam)” ทางศาสนาเป็นผู้นำประเทศ
2. รัฐศาสนา (Religious State):
รัฐศาสนาคือแนวคิดที่ศาสนาหนึ่งศาสนาใดถูกยกให้เป็นศาสนาประจำชาติและมีอิทธิพลต่อกฎหมายและนโยบายของรัฐ รัฐศาสนามักจะให้สิทธิพิเศษหรือสถานะพิเศษแก่ศาสนาหนึ่งเหนือศาสนาอื่น ๆ
วาติกัน: เป็นรัฐอิสระที่ปกครองโดยพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก
ปากีสถาน: เป็นรัฐอิสลามที่มีรัฐธรรมนูญระบุว่าอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ
อิสราเอล: เป็นรัฐยิวที่มีกฎหมายบางส่วนอิงกับหลักศาสนายูดาย
ซาอุดีอาระเบีย: เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของประเทศที่ปกครองด้วยแนวคิด เทโอเครซี (Theocracy) หรือรัฐศาสนา ซึ่งหมายความว่าศาสนาอิสลามเป็นศูนย์กลางของทั้งการปกครองและกฎหมายของประเทศ
สหรัฐอเมริกา: เป็นตัวอย่างของประเทศที่มีการปกครองแบบ เซคิวลาริสม์ (Secularism) ในลักษณะของการแยกศาสนาออกจากรัฐ (separation of church and state) ตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น: เป็นตัวอย่างของประเทศที่มีการปกครองแบบ เซคิวลาริสม์ (Secularism) ที่รัฐแยกตัวออกจากศาสนาอย่างชัดเจน แม้ว่าญี่ปุ่นจะมีประเพณีและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธและชินโต แต่รัฐบาลญี่ปุ่นก็ถือว่าเป็นรัฐที่ไม่มีศาสนาประจำชาติและไม่ให้สิทธิพิเศษแก่ศาสนาใดศาสนาหนึ่ง
มาเลเซีย: มีลักษณะการปกครองที่ไม่เป็นแบบเซคิวลาริสม์อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากศาสนาอิสลามมีบทบาทสำคัญในรัฐและสังคม อย่างไรก็ตาม มาเลเซียก็ยังคงมีการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพทางศาสนาในระดับหนึ่ง
ประเทศไทย: เป็นประเทศที่มีลักษณะเฉพาะในเรื่องของศาสนาและการปกครอง แม้ว่าในทางกฎหมายจะไม่มีศาสนาประจำชาติ แต่ศาสนาพุทธมีบทบาทและอิทธิพลอย่างมากในสังคมและวัฒนธรรมไทย โดยรวมแล้วประเทศไทยไม่เป็นทั้งเซคิวลาริสม์อย่างเต็มที่ และไม่เป็นรัฐศาสนาอย่างชัดเจน เสรีภาพทางศาสนา รัฐธรรมนูญไทยรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนาต่าง ๆ ประชาชนสามารถนับถือศาสนาใดก็ได้ตามความเชื่อของตน และรัฐไม่สามารถบังคับหรือจำกัดเสรีภาพทางศาสนาได้ อย่างไรก็ตาม ศาสนาพุทธยังคงมีบทบาทเด่นในพิธีการและกิจกรรมของรัฐ
สรุปความ
- แนวคิดเซคิวลาริสม์เป็นผลผลิตจากการพัฒนาทางความคิดในยุโรปตะวันตก ซึ่งเน้นการแยกศาสนาออกจากการปกครอง เพื่อสนับสนุนการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายทางความเชื่อและศาสนา
- แนวคิดเทโอเครซีและรัฐศาสนาจะมุ่งเน้นการรวมศาสนาเข้ากับการปกครองและมักจะจำกัดเสรีภาพทางศาสนาของผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาที่รัฐส่งเสริม
อ้างอิง
- The Constitution of the United States/ Japan/Malaysia/Saudi Arabia
- Pew Research Center
- United Nations เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพทางศาสนา
- เว็บไซต์ของรัฐบาลไทย www.thaigov.go.th
https://news.muslimthaipost.com/news/38449
บทความที่น่าสนใจ
- วาทกรรมอาหารฮาลาล การสื่อสารอัตลักษณ์ของมุสลิมไทย
- 10 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาหารฮาลาล คำตอบง่ายๆ ที่เข้าถึงและกระจ่างชัด ทำไม?
- ตัวแปรที่ขับเคลื่อนตลาดอาหารฮาลาล ที่น่าสนใจ!
- อาหารฮาลาล คืออะไร อธิบายความหมายอย่างง่ายๆ พร้อมยกตัวอย่างอาหารที่ฮาลาลและไม่ฮาลาล
- เรื่องน่ารู้ อัตลักษณ์อาหารฮาลาล มิติศาสนา มิติวัฒนธรรม และมิติสังคม