กองบังคับการปราบปราม กลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน ร้องกองปราบดำเนินคดีกับผู้พิพากษาศาลปกครอง กรณี “ศาลไม่ยอมรับฟ้องให้ยกเลิกเครื่องหมายฮาลาล”
กลุ่มชาวพุทธฯ หงายเงิบ! ไม่รับฟ้องยกเลิกฮาลาล
19 กันยายน 2562 ณ กองบังคับการปราบปราม กลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน ร้องกองปราบดำเนินคดีกับผู้พิพากษาศาลปกครอง กรณี “ศาลไม่ยอมรับฟ้องให้ยกเลิกเครื่องหมายฮาลาล”
- ชาวเน็ตจวก 'กลุ่มคนต้านฮาลาล' ไม่เห็นด้วย-วอนตรวจสอบ
- ชาวพุทธแท้สะท้อน “กลุ่มต้านฮาลาล” เสี้ยมพุทธมุสลิมทะเลาะกัน
- กลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน เข้าร้องกองปราบแจ้งข้อกล่าวหาดำเนินคดีกับผู้พิพากษาศาลปกครอง จำนวน 8 คน แบ่งเป็นผู้พิพากษาศาลปกครองสูงสุด 5 คน
คือ 1.นายมนูญ ปุญญกริยากร 2.นายสมรรถชัย วิศาลาภรณ์ 3.นายประวิตร บุญเทียม 4.นายสมชัย วัฒนการุณ และ 5.นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
และผู้พิพากษาศาลปกครองกลาง 3 คน คือ 1.นายนิทัศน์ แช่มช้อย 2.นายสัมฤทธิ์ อ่อนคำ และ 3.นายคม บูรณวรศิลป์ ฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ฐานวินิจฉัยคดีโดยไร้ความสามารถ และในลักษณะช่วยเหลือผู้กระทำผิด
“สืบเนื่องมาจากผู้ร้อง ได้ฟ้องจุฬาราชมนตรี และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย(กอท.) จำนวน 16 คน ได้ออกระเบียบเก็บเงินฮาลาลโดยมิชอบและเป็นการทุจริต”
-โดยต้องการให้ศาลมีคำสั่งว่า
1. ตรารับรองฮาลาลเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
2. ขอให้เพิกถอนเครื่องหมายฮาลาลจากสินค้าทั่วประเทศ
3. ให้เรียกเก็บคืนสินค้าฮาลาลทั้งหมดออกจากตลาดภายในเวลา 3 เดือน
4. ให้จุฬาราชมนตรี และกอท.ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ผลิตสินค้า หรือ ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
โดยก่อนหน้านี้
- ศาลปกครองชั้นต้นวิจฉัยว่า ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง เป็นคำสั่งทางศาสนา จึงไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา
- และผู้ฟ้องอุทธรณ์ ศาลปกครองสูงสุด วินิจฉัยว่าอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง แต่วินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องไม่มีสิทธิ์ฟ้องพราะไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เนื่องจากมาตรา 42 กำหนดว่า ผู้ใดได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อน หรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลียงได้ อันเนื่องจากการกระทำของหน่วยงานทางปกครอง ผู้นั้นจึงมีสิทธิต้องคดีต่อศาลปกครองได้
ซึ่งผู้ฟ้องอ้างว่า “เป็นผู้บริโภคสินค้าที่มีตราฮาลาล ที่ผู้ประกอบการได้รวมค่าธรรมเนียมในตราฮาลาลเข้าเป็นต้นทุนในการผลิตแล้ว”
เมื่อจำหน่ายย่อมรวมราคาต้นทุนนั้นเข้าในราคาสินค้าด้วย ผู้ฟ้องจึงไม่มีสิทธิปฏิเสธการจ่ายส่วนเกินที่รวมมากับราคาสินค้านั้นได้
“ผู้ฟ้องจึงเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ “
ข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่อง "ฮาลาล"
- ตราฮาลาล คือ ตราที่ติดบนสลากผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นที่ฮาลาล (อนุมัติ) สำหรับมุสลิมใช้บริโภค โดยจะมีคำว่า "ฮาลาล" (อาหรับ: حلال) เป็นภาษาอาหรับประทับอยู่ ผู้ออกตราฮาลาลในประเทศไทยคือคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
- อาหารฮาลาล คือ อาหารที่ไม่มีสิ่งต้องห้ามเจือปน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อสัตว์นั้นจะต้องเป็นเนื้อฮาลาล และไม่เจือปนสิ่งฮะรอม (Haram) หรือสิ่งต้องห้ามบริโภค เช่น เหล้า หรือไขมันหมู เป็นต้น เนื้อสัตว์ หรือ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ฮาลาล จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสัตว์นั้นผ่านการเชือดที่ถูกต้องตามแนวทางอิสลามดังต่อไปนี้
1. ผู้เชือดเป็นมุสลิมที่เข้าใจ และรู้วิธีการเชือดแบบอิสลามอย่างแท้จริง
2. สัตว์ที่จะนำมาเชือดจะต้องไม่เป็นสัตว์ต้องห้าม เช่น สุกร เสือ สุนัข เหยี่ยว งู เป็นต้น
3. สัตว์ยังมีชีวิตขณะทำการเชือด
4. การเชือดต้องเริ่มต้น ด้วยการเปล่งคำว่า "บิสมิลลาฮฺ" (ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ)
5. การเชือดต้องไม่เป็นการไม่ทรมานสัตว์
6. สัตว์ต้องตายสนิทก่อนที่จะแล่เนื้อ หรือดำเนินการใด ๆ ต่อไป
เรียบเรียงจาก ไทยรัฐออนไลน์ และ islamhouse.muslimthaipost.com