การละหมาดเดือนรอมฎอนกับฮอร์โมนอินสุลิน ที่ไม่เคยรู้มาก่อน!


การละหมาดเดือนรอมฎอนกับฮอร์โมนอินสุลิน ที่ไม่เคยรู้มาก่อน!

บทความโดย: รองศาสตราจารย์ วินัย ดะห์ลัน อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในเดือนรอมฎอน ฮ.ศ.1441 พวกเรารู้จักนาฬิกาชีวิต (Circadian clock) ซึ่งเป็นกลไกในกลุ่มเซลล์ของไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ทำหน้าที่ควบคุมศูนย์อิ่ม (Satiety Center) กันอยู่แล้ว ใน ค.ศ.2010 Bass J แห่ง University of Northwestern พบว่า นาฬิกาชีวิตเกี่ยวข้องกับความว่องไวในการทำงานของอินสุลิน (Insulin sensitivity) Shi SQ แห่งมหาวิทยาลัย Vanderbilt รัฐเทนเนสซี พบว่าการมีแสงและไม่มีแสงมีผลต่อนาฬิกาชีวิต โดยช่วงมีแสง อินสุลินจะเหนี่ยวนำการเผาผลาญกลูโคสเพื่อสร้างพลังงานขณะที่ช่วงไม่มีแสง

อินสุลินจะกระตุ้นการสะสมพลังงานในรูปไขมัน ค.ศ.2019 Aras E จาก University of Geneva (UNIGE) สวิตเซอร์แลนด์ พบว่า ความว่องไวของอินสุลินสัมพันธ์กับนาฬิกาชีวิตช่วงมีแสงและไม่มีแสง โดยแสงจากดวงอาทิตย์แม้น้อยนิดสามารถกระตุ้นเรตินานำไปสู่การรับรู้ของเซลล์ VMH ในสมอง ส่งผลต่อการทำงานของอินสุลินได้

การละหมาดเดือนรอมฎอนกับฮอร์โมนอินสุลิน ที่ไม่เคยรู้มาก่อน!

นั่นเป็นเรื่องนาฬิกาชีวิตลองมาดู เรื่องของอิสลามกันบ้าง อิสลามกำหนดการละหมาดภาคบังคับ (ฟัรฎู) ไว้ 5 เวลาต่อวันรวม 17 รอกะอัต การละหมาดไม่บังคับที่เกี่ยวเนื่องกับการละหมาดภาคบังคับ (สุนนะฮฺรอวาติบ) ไว้ 5 เวลาต่อวัน 12 รอกะอัต รวม 29 รอกะอัต การใช้พลังงานเฉลี่ยจากการละหมาด 1 รอกะอัตเท่ากับ 4.71 กิโลแคลอรี

การละหมาดฟัรฎูอย่างเดียวหนึ่งวันใช้พลังงาน 80.07 กิโลแคลอรีเท่ากับขนมหนึ่งถ้วย เมื่อรวมละหมาดสุนนะฮฺรอวาติบด้วยจะใช้ 136.6 กิโลแคลอรีเท่ากับอาหารว่างหนึ่งมื้อ คนไทยปกติกินอาหารเฉลี่ย 1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน ใช้พลังงานจากการละหมาดไปแล้วจึงเหลือพลังงาน 1,663 กิโลแคลอรีเพื่อใช้ในการทำงาน เหลือเท่าไหร่จึงนำไปเก็บในรูปไขมัน มุสลิมทั่วไปในเดือนปกติจึงยังสะสมพลังงานได้

พลังงานที่นำไปใช้หรือนำไปเก็บสะสมในรูปไขมันขึ้นกับช่วงมีแสงหรือไม่มีแสง ทั้งขึ้นกับกิจกรรมของร่างกาย โดยเวลาของการละหมาดจะตรงกับช่วงการกินอาหารสามมื้อ ได้แก่ ละหมาดซุบฮิใกล้มื้อเช้าแม้ดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้นแต่แสงเงินแสงทองจับท้องฟ้าถือว่ามีแสงแล้ว ละหมาดดุฮฺริใกล้มื้อเที่ยง ละหมาดอัสริใกล้อาหารว่างเวลาบ่าย ละหมาดมักริบใกล้อาหารเย็นซึ่งยังมีแสงแดงจับท้องฟ้าถือว่ามีแสง การละหมาดสี่เวลาที่กล่าวถึงจึงนับเป็นกิจกรรมของร่างกายที่ผลักดันให้อินสุลินทำหน้าที่ด้านการใช้พลังงานมากกว่าการสะสม การละหมาดที่ถือเป็นช่วงไม่มีแสงมีละหมาดเดียวคืออิซาหลังหมดแสงแดงบนท้องฟ้าแล้ว

ขณะที่ในเดือนรอมฎอน ปรากฏว่า มีการละหมาดเพิ่มเติมขึ้นช่วงกลางคืน ได้แก่ ละหมาดตะรอเวียะฮฺและวิเตร รวม 11-23 ร่อกะอัต มุสลิมจำนวนไม่น้อยยังละหมาดยามดึกที่เรียกว่า ตะฮัดยุด

การละหมาดเหล่านี้ทำให้การใช้พลังงานช่วงไม่มีแสงเกิดมากขึ้นจึงช่วยไม่ให้เกิดการสะสมพลังงานในรูปไขมัน การละหมาดในเดือนรอมฎอนจึงนับเป็นการออกกำลังกายที่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการผลักดันการใช้พลังงานของร่างกาย

https://news.muslimthaipost.com/news/33961

อัพเดทล่าสุด