ลองเปรียบเทียบโรคโควิด-19 (COVID-19) กับโรคหวัดใหญ่ 2009 (Flu 2009) พบว่าสถานการณ์คล้ายกันจนน่าแปลกใจ ยิ่งแปลกใจมากขึ้นเมื่อพบว่า
โควิด-19 กับหวัดใหญ่ 2009 สองสถานการณ์ที่แตกต่าง
บทความโดย: รองศาสตราจารย์ วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ลองเปรียบเทียบโรคโควิด-19 (COVID-19) กับโรคหวัดใหญ่ 2009 (Flu 2009) พบว่าสถานการณ์คล้ายกันจนน่าแปลกใจ ยิ่งแปลกใจมากขึ้นเมื่อพบว่า คนไทยตื่นกลัวโควิด-19 ทว่าแทบไม่กลัวหวัดใหญ่ 2009 เลย ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น
ลองย้อนเวลากลับไปใน พ.ศ.2552 ช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์หวัดใหญ่ 2009 ระบาดหนัก ลองสอบถามผู้คนดูเถอะมีน้อยมากที่จดจำเหตุการณ์การระบาดของโรคหวัดใหญ่ 2009 ได้ นึกไม่ออกด้วยซ้ำว่าโรคนี้เคยระบาดหนักทั่วโลกรวมทั้งอาจเคยระบาดในประเทศไทยมาแล้ว
โรคหวัดใหญ่ 2009 บางครั้งเรียกว่า หวัดหมู (Swine flu) เริ่มระบาดครั้งแรกในเดือนเมษายน 2552 โดยเกิดจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่เชื่อกันว่าเริ่มต้นจากไวรัสโคโรน่าในค้างคาวไปผ่าเหล่าในสุกรก่อนระบาดเข้าสู่คนเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศเม็กซิโกก่อนแพร่ไปทั่วทวีปอเมริกาเหนือและใต้ กระทั่งระบาดไปทั่วโลก ผ่านไปสองเดือนกระทั่งถึงมิถุนายน 2552 องค์การอนามัยโลกจึงประกาศให้เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) การระบาดเป็นไปอย่างรุนแรงข้ามปีจนถึงเดือนสิงหาคม 2553 โรคจึงสงบลง ระบาดนานหนึ่งปีสี่เดือน คร่าชีวิตคนทั่วโลกเมื่อยืนยันจากห้องปฏิบัติการรวม 18,000 คน ยอดผู้ป่วยติดเชื้อที่ยืนยันได้จากห้องปฏิบัติการรวม 662,000 คน หรือเสียชีวิต 2.72% แต่เชื่อกันว่า ยอดผู้เสียชีวิตจริงอาจสูงถึง 203,000 คน เมื่อพิจารณาจากอาการข้างเคียงอื่นๆ ทำให้เชื่อว่ายอดผู้ติดเชื้อจริงซึ่งส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการอาจสูงถึง 7 ล้านคน
ขณะที่โรคโควิด-19 จนถึงวันนี้ 12 มีนาคม 2563 ระบาดมานาน 4 เดือน ทำคนติดเชื้อจำนวน 126,510 คน เสียชีวิต 4,637 คน หรือ 3.67% คร่าชีวิตได้ไม่เท่าโรคซารส์และเมอรส์ที่คร่าชีวิตมากถึง 10 และ 30% ของผู้ติดเชื้อตามลำดับ โรคโควิด-19 กับโรคหวัดใหญ่ 2009 จึงนับเป็นการระบาดใหญ่ระดับเดียวกัน แต่อย่างที่บอกคือน่าแปลกใจที่คนไทยในช่วงเวลานั้นแทบจดจำเหตุการณ์การระบาดของหวัดหมูหรือโรคหวัดใหญ่ 2009 ไม่ได้เลย เมื่อลองตรวจสอบย้อนกลับจึงหายแปลกใจ ช่วงเมษายน 2552-พฤษภาคม 2553 ขณะที่โรคหวัดใหญ่ 2009 กำลังระบาดไปทั่วโลกปรากฏว่าในเวลานั้นประเทศไทยอยู่ในช่วงความวุ่นวายทางการเมืองเรื่องสีเสื้อพอดิบพอดี
เริ่มกันในเดือนเมษายน 2552 ขณะหวัดใหญ่ 2009 เริ่มระบาด วันที่ 26 มีนาคมถึง 24 เมษายน 2552 เกิดเหตุการณ์ปะทะกันที่ถนนราชดำเนินกระทั่งพลเอกร่มเกล้า ธุวธรรม เสียชีวิตเหตุการณ์ลามไปที่พัทยาถึงขนาดล้มการประชุมสุดยอดอาเซียน ตามด้วยการทุบรถนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในกรุงเทพฯ เวลานั้นประเทศไทยวุ่นวายกันทั้งบนถนนและทางสื่อ
กระทั่งเข้า พ.ศ.2553 วันที่ 7-19 พฤษภาคม เกิดการชุมนุมประท้วงกันใหญ่โต กระทั่งเกิดการสลายการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคมนำไปสู่การจลาจลเผาเมืองทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด วุ่นวายกันขนาดนั้นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ไม่มีใครกลัวโรคหวัดใหญ่ 2009 มาครั้งนี้เมื่อผู้คนพากันกลัวโรคโควิด-19 ขนาดหนักจึงน่าจะเป็นผลดีเพราะความกลัวคือกลไกการรักษาชีวิตของมนุษย์ หากไม่กลัวอาจไปวุ่นวายกับแฟลชม็อบ จะยิ่งยุ่งกันไปใหญ่
- COVID-19 มัสยิดอังกฤษ ตั้งทีมเร่งช่วย ผู้ถูกกักตัวในบ้าน
- ดร.วินัย เผยวิธีป้องกันโควิด-19 ปลอดภัยไร้หน้ากากอนามัย
- ซาอุฯ สั่งปิดมัสยิด ชวนให้ละหมาดที่บ้าน
- 'ผู้นำอิสลาม' แนะมุสลิมยกมือทักทายแทนสลาม ป้องกันโควิด-19
- จุฬาราชมนตรี แถลงการณ์โควิด-19 ใส่'แมส'ละหมาดได้
- ISIS สั่งห้ามเดินทางก่อการร้ายในยุโรป อาจติดเชื้อโรค
- COVID-19: สภามัสยิดอินโดนีเซีย ขอร้องผู้ป่วยให้ปฏิบัติศาสนกิจที่บ้าน