ในสมัยที่นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ เป็นจุฬาราชมนตรี นับเป็นยุคที่บ้านเมืองกำลังเบ่งบานด้านการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าในปี 2540
จุฬาราชมนตรี ครั้นเผชิญวิกฤติศรัทธากับปัญหาชายแดนใต้
บทความโดย: หนังสือจุฬาราชมนตรี ประวัติศาสตร์ผู้นำไทยมุสลิมจาก สมัยอยุธยา ถึง ยุคทักษิณ
ในสมัยที่นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ เป็นจุฬาราชมนตรี นับเป็นยุคที่บ้านเมืองกำลังเบ่งบานด้านการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าในปี 2540 ประเทศไทยจะประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจบ้างก็ตาม แต่การพัฒนาประเทศก็เจริญไปมาก การสื่อสารครอบคลุมทั้วถึง การศึกษาได้รับการพัฒนาและมีปัญญาชนมุสลิมเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง
กระนั้นก็ตามยังมีปัญหาที่กระทบกับการทำงานในตำแหน่งหน้าที่จุฬราชมนตรีอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนับตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา สถานการณ์ในประเทศโดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้หลังจากที่มีปัญหายืดเยื้อกันนานกว่าครึ่งศตวรรษ ในอดีตมีทั้งที่รุนแรงและเบาบางแตกต่างกันไป ตามแต่นโยบายรัฐบาลในยุคนั้นๆ
- ประวัติ เฉกอะหมัด จุฬาราชมนตรีคนแรกของไทย (ละเอียด)
- จุฬาราชมนตรี คนสุดท้ายแห่งเชื้อสายท่านเฉกอะหมัด คือใคร?
- จุฬาราชมนตรี “สายชีอะห์ - ซุนนี่” ผู้นำมุสลิมยุคแรกแห่งสยาม
ภาพนายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรีคนที่ 17
สถานการณ์ชายแดนใต้หลังจากที่สงบเงียบไปนานร่วมเกือบทศวรรษ ก็กลับเริ่มปะทุอีกครั้งในสมัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เกิดเหตุความรุนแรงขึ้นหลายครั้งและเกิดมาอย่างต่อเนื่องประกอบกับสถานการณ์โลกในขณะนั้น เกิดการขัดแย้งระหว่างโลกตะวันตก ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหัวหอกกับโลกอาหรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเหตุการณ์ 9/11/2001 การลอบก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา ด้วยเครื่องบินพุ่งชนตึกเวิลด์เทรด และกองบัญชาการทหาร หรือแพนตากอนของสหรัฐอเมริกา
หลังจากนั้นการตอบโต้ของสหรัฐ กับกองกำลังกลุ่มของนายอุสซามะ บิน ลาเดน ซึ่งเป็นกลุ่มที่รัฐบาลและหน่วยข่าวกรองสหรัฐ ระบุว่าเป็นกลุ่มที่โจมตีสหรัฐ ในเหตุการณ์ 9/11 โดยใช้ฐานที่มั่นในประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งในยุคนั้นปกครองประเทศโดยรัฐบาลในตอลีบัน การตอบโต้ดังกล่าวเริ่มขึ้นโดยสหรัฐอเมริกาจัดการส่งกำลังไปบุกยึดประเทศอัฟกานิสถานในเวลาต่อมา
จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้สถานการณ์โลกและสังคมมุสลิมเริ่มมีปฏิกิริยาในการต่อต้านรัฐบาลสหรัฐและกลุ่มประเทศตะวันตก ที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดสหรัฐ ขยายวงมากขึ้น
และด้วยกระแสการคัดค้านการโจมตีประเทศอัฟกานิสถานนี่เองได้ขยายวงลุกลามเข้ามาในประเทศไทย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และในอีก 2 ปีต่อมา สหรัฐอเมริกาก็บุกโจมตีและยึดประเทศอิรักเพื่อขับไล่รัฐบาลของประธานาธิบดีชัดดัม ฮุสเซ็น ทำให้กระแสโลกอิสลามในการต่อต้านสหรัฐอเมริกาได้กระพือมากยิ่งขึ้น
จากผลพวงสถานการณ์ระหว่างสหรัฐกับโลกมุสลิม ที่ขยายวงมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นสงครามตอบโต้ระหว่างนักรบมุสลิมกับสหรัฐอเมริกามากยิ่งขึ้นเหมือนเงาตามตัว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเสร็จสิ้นสงครามอิรัก รัฐบาลไทยโดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี (จากพรรคไทยรักไทย) ได้มีมติครม. ส่งทหารไทยไปอิรักท่ามกลางการทัดทานจากสังคมภายในประเทศ แม้ว่ารัฐบาลจะอ้างว่าส่งไปเพื่อฟื้นฟูและช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนก็ตาม แต่การโจมตีของสหรัฐต่อประเทศอิรักในครั้งนั้น แม้ว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะอ้างว่าประเทศอิรักมีอาวุธเคมีไว้ในครอบครอง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังกลุ่มตอลีบัน และกลุ่มของนายอุสซามะ บิน ลาเดน ตลอดจนถึงข้ออ้างที่ว่าเพื่อการปลดปล่อยประชาชนชาวอิรัก ที่ถูกปกครองด้วยการกดขี่ข่มเหงจากรัฐบาลภายใต้การบริหารของชัดดัม ฮุสเซ็น ก็ตาม แต่ปฏิบัติการของสหรัฐในครั้งนั้น ก็เป็นไปด้วยข้อกังขาและท่ามกลางกระแสคัดค้านจากประชาคมีโลกและสหประชาชาติอย่างหนัก
ในขณะที่ในประเทศไทยเอง สถานการณ์ไม่ค่อยน่าไว้วางใจมากนักอันเนื่องมาจากกระแสของเครือข่ายการก่อการร้ายที่สหรัฐตั้งนิยามกับการทำสงครามในครั้งนี้ ว่ามีเครือข่าย "อัลกออิดะห์" ของ นายอุสซามะ บิน ลาเดน เเพร่ขยายทั่วเอเซียรวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยรัฐบาลได้เพ่งเลิงไปยังในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นพิเศษ
ต่อมาในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2547 ในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เกิดเหตุการณ์ครั้งใหญ่และนับเป็นจุดเริ่มต้นของสถานการณ์ภาคใต้ เมื่อกองพลทหารค่ายทหารกองพลพัฒน (ค่ายปิเหล็ง) อ.เจาะไอร้องจ.นราธิวาส ถูกคนร้ายปล้นอาวุธปืนไปกว่า 400 กระบอก จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นนับเป็นชนวนสำคัญของการปะทุของสงครามไฟใต้อีกครั้ง หลังจากเงียบมานานร่วมทศวรรษ
ต่อมาในวันที่ 28 เมษายน 2547 เกิดการปะทะครั้งใหญ่ที่จังหวัดปัตตานีและอีกหลายพื้นที่ในชายแดนใต้ เกิดการยิงต่อสู้และทหารยิงใส่มัสยิดกรือเซะ เป็นผลให้กองกำลังเยาวชนมุสลิมเสียชีวิตในมัสยิด 34 ศพ และกระจัดกระจายที่อื่นๆ ครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนใต้ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา รวมแล้ว 107 ศพ
ภาพเจ้าหน้าที่ทหารขณะทำความสะอาดบริเวณมัสยิดกรือเซะในจังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2547
สถานการณ์ในครั้งนั้น ทำให้กระแสสังคมในประเทศเกิดความหวาดระแวงและขัดแย้งอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ขณะเดียวกันรัฐบาลซึ่งนำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย
ในขณะนั้น ก็พยายามส่งสัญญาณในลักษณะของรัฐนิยมมากขึ้น ทำให้กระแสสังคมได้ลุกลามจนเกือบจะจุดชนวนกลายเป็นความขัดแย้งทางศาสนา
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนใต้รุนแรงหลายครั้ง ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ของประเทศไม่พอใจคนมุสลิมในพื้นที่ชายแดนใต้ เนื่องจากสถานการณ์ชายแดนใต้ที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็มีการปล่อยข่าวการแบ่งแยกดินแดน 3 จังหวัดชายแดนใต้ออกแผนที่ของประเทศ ทำให้กระแสสังคมเริ่มขัดแย้งกินวงกว้างมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรศาสนาอิสลามอย่างสำนักจุฬาราชมนตรีเองได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมมุสลิมว่า ไม่สามารถเป็นองค์กรที่เป็นที่พึ่งของประชาชนในพื้นที่ชายแดนใต้ได้ มิหนำซ้ำยังถูกมองว่าสำนักจุฬาราชมนตรีในยุคนี้เป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาลมากกว่าการปกป้องหรือเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคนมุสลิมในพื้นที่ชายแดนใต้
หลังจากเกิดเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ จังหวัดปัตตานี เมื่อ 28 เมษายน จากนั้นอีก 6 เดือนต่อมา ก็เกิดเหตุการณ์การชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ทำให้มีชาวบ้านเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมถึง 87 คน ทำให้สถานการณ์ชายแดนใต้เลวร้ายลงไปทุกขณะ รัฐบาลถึงกับใช้มาตรการทางทหารมาควบคุมพื้นที่ ด้วยการประกาศเป็นพื้นที่กฎอัยการศึกและตามด้วยการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในเวลาต่อมา
สถานการณ์ชายแดนใต้ที่ก่อความรุนแรงอย่างต่อเนื่องนานร่วม 2 ปี ตั้งแต่ต้นปีต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2548 ล่วงมาถึงในปี พ.ศ.2549 สถานการณ์ยังไม่มีที่ท่าว่าจะยุติลงง่ายๆ
ในขณะที่รัฐบาลในยุคนั้นดูเหมือนกำลังเผชิญกับทางตันในการแก้ปัญหา ต่อมาจึงตั้งองค์กรอิสระ ซึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ" โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อช่วยคลี่คลายปัญหาและลดความขัดแย้งทางสังคม
นายอานันท์ ปันยารชุน
นอกจากองค์กรที่รัฐแต่งตั้งและเป็นเครื่องมือของรัฐแล้ว สำนักจุฬาราชมนตรีก็คืออีกความหวังของรัฐบาลที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการคลี่คลายปัญหาชายแดนใต้ แต่ความหวังว่าองค์กรศาสนาอย่างสำนัก จุฬาราชมนตรีกาลกลับไม่เป็นเช่นนั้นเพระเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สั่งสมและกระทบกับความรู้สึกของสังคมมุสลิม โดยเฉพาะสำนักจุฬาราชมนตรีถูกตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเครื่องมือของรัฐบาลหรือไม่ ทำให้หลายฝ่ายเริ่มกังขากับบทบาทของสำนักจุฬาราชมนตรี และบทบาทของท่านจุฬาราชมนตรี สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ รวมถึง คนใกล้ชิด
สถานการณ์ใต้ที่เกิดขึ้นในยุดของจุฬาราชมนตรี สวาสดิ์ ทำให้มีผลกระทบกระเทือนต่อการบริหารกิจการองค์กรศาสนาอิสลามมากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่พอใจของมุสลิมกลุ่มหนึ่งต่อบทบาทของจุฬราชมนตรี จากกรณีการเสนอแนวคิดต่อกรณีการที่กองกำลังทหารบุกโจมตีมัสยิดกรือเซะ ในวันที่ 28 เมษายน 2547
นอกจากนี้ยังพบว่า ในยุคนี้มีการขัดแย้งจากขั้วการเมืองในองค์กรศาสนาอิสลามระหว่างสายเลือดใหม่ที่มาจากอำนาจการบริหาร ซึ่งเป็นคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กับขั่วการเมืองในสายของสำนักจุฬาราชมนตรีที่เข้ามาผสมโรงจากเหตุกรณ์สถานการณ์ชายแดนใต้อีกด้วย
แม้ว่าก่อนหน้านี้ยังมีการสงวนท่าทีการขัดแย้งในองค์กรศาสนา ไม่เด่นชัดมาก แต่ท่ามกลางสถานการณ์ใต้นั้น ความขัดแย้งในการช่วงชิงอำนาจการบริหารในสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยกับ ฝ่ายของสำนักจุฬราชมนตรี หลังจากที่ใช้ พ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 เริ่มเด่นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ