จุฬาราชมนตรียุคกรุงรัตนโกสินทร์ ย้อนประวัติศาสตร์ผู้นำไทยมุสลิม มีใครบ้าง?
จุฬาราชมนตรียุคกรุงรัตนโกสินทร์
1. จุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว)
นับตั้งแต่การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ทําให้ตําแหน่งจุฬาราชมนตรีไม่มีอีกเลย อันเนื่องจากเจ้านายและขุนนาง แขกในยุคนั้นแตกกระเซ็นไปตามหัวเมืองต่างๆ หลังกรุงแตก บ้างก็ถูกจับไปเป็นเชลยของพม่า
ครั้นต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สามารถกอบกู้เอกราชจากพม่าได้แล้วก็ตามพร้อมกับสถาปนาเมืองหลวงขึ้นใหม่เรียกว่า “กรุงธนบุรี” แต่ตําแหน่งจุฬาราชมนตรีก็ยังไม่มีการสืบต่อ
ส่วนหนึ่งอันเนื่องมาจาก ในยุคนั้นมีความเห็นทางคติธรรมที่ต่างกันจนเป็นชนวนในการมีพระบรมราชโองการห้ามเข้ารีตในคริสต์ศาสนา และศาสนาอิสลามฝ่ายหนึ่ง กับพุทธศาสนาอีกฝ่ายหนึ่งดังมีปรากฏใน พงศาวดาร ภาคที่ ๓๙ ดังนี้
ด้วยพวกเข้ารีตและพวกถือศาสนาพระมะหะหมัด เป็นคนที่อยู่นอก พระพุทธศาสนา เป็นคนที่ไม่มีกฎหมาย และไม่พระพฤติตามพระพุทธวจนะ ถ้าพวกไทยซึ่งเป็นคนพื้นเมืองนี้ตั้งแต่กําเนิดไม่นับถือ และไม่พระพฤติตาม พุทธศาสนาถึงกับลืมชาติกําเนิดตัว
ถ้าไทยประพฤติและปฏิบัติตามลัทธิของพวกเข้ารีต และพระมะหะหมัด ก็จะตกอยู่ในฐานความผิดอย่างร้ายกาจ เพราะนั้นเป็นเห็นได้ที่ยงแท้ว่าถ้าคนจําพวกนีตายไป ก็ต้องตกนรกอเวจี ถ้าปล่อยให้พวกนี้ทำตามชอบใจ ถ้าไม่เหนี่ยวรั้งไว้ ถ้าไม่ห้ามไว้แล้ว พวกนี้ก็จะทําให้วุ่นขึ้นทีละน้อย โดยไม่รู้ตัว จนที่สุดพุทธศาสนาก็เสื่อมทรามลงไป
“เพราะเหตุฉะนี้ จึงห้ามเด็ดขาด มิให้ไทยและมอญ ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ได้ไปเข้าพิธีของพวกมะหะหมัด หรือพวกเข้ารีต ถ้าผู้ใดมีใจดื้อแข็งเจตนาไม่ดีมืดมัวไปด้วยกิเลสต่างๆ จะฝ่าฝืนต่อประกาศ อันนี้ ขืนไปเข้าพิธีของพวกมะหะหมัดและพวกเข้ารีต แม้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วให้เป็นหน้าที่ของสังฆราช หรือบาทหลวงมิชชันนารี หรือบุคคลที่เป็นคริสเตียน หรือมะหะหมัด จะต้องคอยห้ามปรามมิให้คนเหล่านั้นได้เข้าไปในพิธีของพวกคริสเตียน และพวกมะหะหมัดดังว่ามานี้ส่งให้ผู้พิพากษาชําระและให้ผู้พิพากษาวางโทษถึงประหารชีวิต
ถึงแม้สังฆราชก็ดี มิชชันนารีคนใดก็ดี หรือพวกเข้ารีตและพวกมะหะหมัดคนใดก็ดี ไม่กลัวต่อประกาศพระราชโองการนี้ ขึ้นชักชวนคนไทย หรือมอญ ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ให้เข้าในพิธีพวก เข้ารีตและพวกมะหะหมัด แม้แต่ในพิธีใดๆ ก็ตาม ก็ให้เจ้าพนักงานจับกุมสังฆราชหรือบาทหลวงมิชชันนารี หรือบุคคลที่เข้ารีตเป็นมะหะหมัดนั้นๆ
ไว้และให้วางโทษถึงประหารชีวิต ให้เจ้าพนักงานจับกุมคนไทยหรือมอญซึ่ง ได้ไปเข้าเฝ้าในพิธีของพวกเข้ารีตและพวกมะหะหมัดนั้นวางโทษถึงประหาร ชีวิตเหมือนกัน
“ประกาศพระราชโองการนี้ ได้สั่งให้ไว้แก่ล่ามหรือให้ไปปฏิบัติตาม พระราชโองการนี้จงทุกประการ"
ประกาศมา ณ วันอาทิตย์ขึ้น ๑๑ ค่ําเดือน ๑๑ ปีมะเมีย ฉศก. (ตรงกับวันที่ ๑๓ เดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๔ / พ.ศ. ๒๓๑๗ (ประชุม พงศาวดารภาคที่ ๓๙ หน้า ๘๙ - ๓๑) อาลี เสือสมิง ประวัติศาสตร์ขุนนาง มุสลิมสยาม (หน้า ๒๔๒)
ครั้นล่วงเข้าในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ท่านจุฬาราชมนตรีท่านแรกคือ พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) หรือชื่อทางอิสลามว่า “มุฮำาหมัด มะอ์ซูม" ว่าที่จุฬาราชมนตรีก็เริ่มแต่งตั้งอีกครั้ง และพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว)
นับได้ว่าเป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกในแผ่นดินกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรี(เชน) กับคุณหญิง “ทองก้อน” ท่านได้เข้ารับราชการมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ โดยถวายตัวเป็นมหาดเล็ก และเมื่อเสีย
กรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้าย พ.ศ. ๒๓๑๐ ท่านได้หลบหนีข้าศึกมาได้และถวายตัวรับราชการในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็น “หลวงศรีนวรัตน์”
นอกจากนี้ ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ เขียนบันทึกในหนังสือ จุฬาราชมนตรีแห่งอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ (หน้า ๑๔) โดยระบุว่า
พระยาจฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ท่านเป็นที่โปรดปรานและสนิทสนมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพราะมีชีวิตเป็นทหารในสนามรบมาด้วยกันและเคยร่วมกู้ชาติบ้านเมืองมาด้วยกันตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ครั้นต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็น “พระยาจุฬาราชมนตรี” เป็นคนที่ ๑ ของกรุงรัตนโกสินทร์ และนับเป็นจุฬาราชมนตรีลําดับที่ ๕ แห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานที่ดินสร้าง “กุฎีเจ้าเซ็น” ขึ้นที่ข้างพระราชวังเดิม เรียกว่า “กุฎีหลวง” ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ได้สมรสกับคุณหญิงเสม เป็นมุสลิมนิกายซุนนี บุตรท่านน้อย และเป็นหลานพระยาราชวังสัน (หวัง) ทางสายสกุลสุลต่านสุลัยมาน และมีธิดา ๓ คน
ธิดาคนแรกชื่อ “แช่ม”
ธิดาคนที่สองชื่อ “นก”
ส่วนธิดาอีกคนชื่อ “หงส์” ได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ไม่มีพระโอรสและพระธิดาเลย
พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) นี้ ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นท่านต้องออกรบในฐานะเป็นแม่ทัพเช่นเดียวกับแม่ทัพคนอื่นๆ ด้วย ดังนั้นชีวิตของท่านจึงหนักไปในทางการทหารอยู่เป็นส่วนใหญ่ โดยได้ใช้ชีวิตสนอง พระคุณชาติบ้านเมืองมาจนถึงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่ออายุ ๘๒ ปี
โดยศพของท่านฝังไว้ ณ มัสยิดต้นสน (กุฎีใหญ่) ปากคลองบางกอกใหญ่ หลังพระราชวังเดิม นับได้ว่าท่านเป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ ๕ ของประเทศไทย
2. จุฬาราชมนตรี (อากาหยี่)
พระยาจุฬาราชมนตรี (อากาหยี่) เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรี (เชน) และเป็นน้องชายของพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ท่านอากาหยี่ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาจุฬาราชมนตรีคนที่สองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อจากพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ผู้เป็นพี่ชาย
พระยาจุฬาราชมนตรี (อากาหยี่) ถึงแก่อสัญกรรมในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่สองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีบุตรธิดารวมทั้งหมด ๑๕ คน ประกอบด้วย ท่านนาค ท่านสน (ต่อมาได้ รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นหลวงศรียศในรัชกาลที่ ๒) ท่านมุก (เป็นหลวงศรีนวรัตน์ในสมัย ร.๒ )
ท่านปาน ท่านบัว ท่านแสง ท่านจาด ท่านกลิ่น คุณจัน ท่านน้อย คุณกลิ่น คุณผา คุณตาน ท่านปาน และท่านจ่าย (ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ จุฬาราชมนตรีแห่งอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๑)
นอกจากนี้บุตรคนที่แปดชื่อ “กลิ่น” ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น “หลวงโกชาอิศหาก” ในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ส่วนบุตรคนที่สิบ ชื่อ “น้อย” ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น พระยาจุฬาราชมนตรี
ท่านอากาหยื่นับเป็นจุฬาราชมนตรีอันดับที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นอันดับ ๖ แห่งราชอาณจักรไทย
3. จุฬาราชมนตรี (เถื่อน)
ท่านพระยาจุฬาราชมนตรี (เถื่อน) ผู้ที่มีประวัติชีวิตที่แปลกและพิสดารมาก เพราะท่านเป็นทั้งนักการทหาร นักการทูต และนักการศา ท่านผู้นี้ คือ ผู้สืบตําแหน่งจุฬาราชมนตรีคนที่ ๓ ของกรุงรัตนโกสินทร์ หรือคนที่ ๗ ของประเทศไทย
อาลี เสือสมิง เขียนในหนังสือ ประวัติศาสตร์ขุนนางมุสลิมสยาม อ้างการบันทึกของ ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ มุสลิมในประเทศไทยว่า พระยาจุฬาราชมนตรี (เถือน) เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ครั้นเมื่อกรุงแตก พ.ศ. ๒๓๑๐ ท่านอยู่กับมารดาในกรุงศรีอยุธยา ถูกพม่ากวาดต้อนไปพร้อมกับมารดาด้วย ท่านต้องตกอยู่ในฐานะเชลย คนไทยต้องตกเป็นทาส ท่านเจ้าคุณขณะนั้นอายเพียง ๑๓ - ๑๔ ขวบ ต่อมาท่านได้หลบหนีไปบวชเป็นสามเณร และศึกษาวิชาอาคมจนแก่กล้า อาจารย์ชาวเขมร เล่ากันว่าท่านมีวิชาล่องหนและมีวิชาคงกระพัน
ศรีอยุธยา ถูกพม่ากวาดต้อนไปพ ฐานะเชลย คนไทยต้องตกเป็น ขวบ ต่อมาท่านได้หลบหนีไปเยี่ยงชายชาติทหารในยุคนั้นที่มักมีวิชาเหล่านี้ติดตัว
ท่านเถื่อนได้ใช้ชีวิตอยู่ในพม่าถึง ๗ ปี จนอายุ ๑๙ ปีเศษ จึงได้หนีกลับมาทางเมืองสอด ท่านได้หนีไปหาบิดาคือ พระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ซึ่งขณะนั้นยังดํารงตําแหน่ง “พระศรีเนาวรัตน์” และไปราชการทัพเมื่อไปตีเมืองเชียงใหม่และเชียงแสน
ครั้นเมื่อกลับมายังกรุงธนบุรี ท่านบิดา (พระยาจุฬาราชมนตรี - ก้อนแก้ว) จึงให้ไปเรียนวิชาการทางศาสนาอิสลามเสียใหม่ และพํานักอยู่ที่แพริมคลองบางหลวงกับพวกญาติของท่าน
ต่อมาในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ท่านเถื่อนในวัย หนุ่มฉกรรจ์ จึงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นทหารอยู่ในกรมทหารอาทมาต คือ กรมทหารที่มีวิชาอาคมต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า กรมหลวงอิศรสุนทร (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) พร้อมกับ เป็นมหาดเล็กของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอด้วยเพราะเป็นคนรุ่นราวคราวเดียวกัน
ในสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ท่านเถื่อนได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น “หลวงภักดีสุนทร” ได้รับราชการไปตีเมืองถลาง และเมืองไทรบุรี
เมื่อเสร็จศึกแล้วก็ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดํารงตําแหน่ง “พระราชเศรษฐี” เมื่อเสร็จศึกเมืองไทรบุรีก็ได้เป็น “พระยาวรเชษฐ์ภักดีศรีวรขาน”เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี เจ้ากรมท่าขวา และมีตําแหน่งเป็นพระยาจุฬาราชมนตรี เมื่อพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) ถึงแก่อนิจกรรมในตอนต้น รัชกาลที่ ๒ มีอํานาจหน้าที่ปกครองชนชาวอิสลามทั่วราชอาณาจักร
ท่านจุฬาราชมนตรี (เดือน) มีชื่อทางอิสลามว่า “อามิรระชามุฮัมมัดการิม” ท่านสมรสกับคุณหญิงนก มีบุตรธิดา ๔ คน ประกอบด้วย ธิดาชื่อสุด ตามด้วยธิดาอีกคนชื่อจีบ (ต่อมาได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอมใน พระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ไม่มีพระองค์เจ้า) คนที่สาม บุตรชายชื่อ “ท่านนาม” ก็ได้สืบทอดตําแหน่งจุฬาราชมนตรี จากบิดาต่อไปและคนสุดท้ายชื่อฉิม (ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ จุฬาราชมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย)
ท่านจุฬาราชมนตรี (เถื่อน) รับราชการต่อมาจนถึงปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อถึงแก่อนิจกรรมศพของท่านฝังไว้ ณ มัสยิดต้นสน (กุฎีใหญ่) ปากคลองบางหลวง เคียงข้างหลุมฝังศพของ ท่านจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) บิดาของท่าน
4. จุฬาราชมนตรี (นาม)
ท่านจุฬาราชมนตรีคนที่ ๔ ของกรุงรัตนโกสินทร์ หรือ คนที่ ๘ ของประเทศไทย คือ พระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) มีชื่อทางศาสนาอิสลาม ว่า “มิรซามุฮัมมัดตะกี” เป็นบุตรของท่านจุฬาราชมนตรี (เถื่อน) กับท่านคุณหญิงนก
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระราชเศรษฐีและต่อมาอีก ๒ ปีก็ได้เลื่อนเป็นพระยาจุฬาราชมนตรี แต่ยังมิได้ว่าที่จุฬาราชมนตรีเพราะบิดายังมีชีวิตอยู่ และยังดํารงตําแหน่งจุฬาราชมนตรีอยู่ด้วย ต่อมาบิดาถึงแก่อนิจกรรมแล้ว จึงได้เลื่อนเป็นพระยาจุฬาราชมนตรี คนที่ ๓ ในกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯ ให้ว่าการคลังวิเศษในส่วนราชการต่างประเทศในกรมท่าหลวงและได้กํากับชําระตั่วเฮียชําระฝิ่น
ครั้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นตําแหน่ง จางวางว่าการคลังพิเศษ คลังในขวา คลังในซ้าย พระคลังในและเจ้าคํานวณ กํากับภาษีร้อยชักสาม และโปรดเกล้าฯ ให้ไป รับราชการพระคลังนอก ขึ้นอยู่ในกรมท่ากลาง (กรมท่ากลางสมัยกระทรวงการต่างประเทศ) ซึ่งมี เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) เป็นเสนาบดี
เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ผู้นี้ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็น “สมเด็จยามหาประยูรวงศ์” ในรัชกาลที่ ๓ นับว่า พระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) เราชการเป็นที่วางพระราชหฤทัยมากในด้านความรายงานทั้งด้านการคลัง การต่างประเทศ ตลอดจนการพาณิชย์ นับเป็นตำแหน่งที่มีความสําคัญต่อเศรษฐกิจของชาติบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง
และเมื่อท่านได้ทําราชการร่วมกับท่านสมเด็จเจ้าพระยามหาประยูร ซึ่งเป็นผู้สืบสกุลจากท่านเฉค อะหมัด ด้วยกัน ซึ่งเป็นเครือญาติร่วมวงศ์กันมา ถ้าลําดับชั้นกันแล้ว พระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) ก็เป็นชั้นหลาน ของสมเด็จพระยามหาประยูรวงศ์นั่นเอง
บทบาททางด้านราชการของพระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) นอกจากหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว ท่านผู้นี้ยังเป็นนักรบ และมีส่วนช่วยในการปราบปรามการจลาจลในภาคใต้ และได้เป็นผู้วางระเบียบการปกครองหัว เมืองปักษ์ใต้ และได้เป็นข้าหลวงตรวจการภาคใต้อยู่หลายเดือนจนเหตุการณ์เป็นปกติ
ต่อมาเมื่อปลายแผ่นดินพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านพระยาวรเชษฐ์ ภักดีศรีวรขาน (เถื่อน) ผู้เป็นบิดาถึงแก่อนิจกรรมพระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) จึงได้เลื่อนยศเป็นว่าที่จุฬาราชมนตรีสืบแทนท่านบิดาทั้งนี้ด้วยการสนับสนุนของสมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ (ดิศ) ด้วย
ท่านจุฬาราชมนตรี (นาม) ถึงแก่อนิจกรรมเมื่ออายุได้ ๗๔ ปี ใน ราวกลางสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศพของท่านฝังอยู่ ณ มัสยิดต้นสน (กุฎีใหญ่) ปากคลองบางหลวงเช่นกัน
5. พระยาจุฬาราชมนตรี (น้อย)
พระยาจุฬาราชมนตรี (น้อย) หรือชื่ออิสลามว่า “มูหะหมัดบาเกร” เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (อากาหยี่) และ “คุณหญิงสะ” รับราชการ ในกรมท่าขวา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงศรีนวรัตน์”
ครั้นต่อมาเมื่อพระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) ถึงอสัญกรรมแล้ว โปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาจุฬาราชมนตรี เจ้ากรมท่าขวาและปกครองดูแลมุสลิมทั่วพระราชอาณาจักร นับเป็นจุฬาราชมนตรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นลําดับที่ ๙ แห่งราชอาณาจักร
พระยาจุฬาราชมนตรี (น้อย) สมรสกับคุณหญิงสา มีบตร คือ ๑. ท่านเอียม ๒. ท่านว่าน ๓. ท่านเทศ ๔. ท่านนิน
มีหลักฐานเขียนไว้ในราชกิจจานุเบกษา ปี จ.ศ. ๑๒๒ (พ.ศ.๒๔๐๙) แจ้งว่า พระยาจุฬา (ราชมนตรี) ได้ถึงแก่กรรมเท่านั้น ไม่บอกว่าชื่ออะไร แต่ในจดหมายเหตุของหมอบรัดเลย์ กล่าวว่า : พระยาจุฬาราชมนตรี(น้อย) ถึงอนิจกรรมในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๙ น่าจะเป็นคนเดียวก็ได้ (หนังสือประวัติศาสตร์ ขุนนางมุสลิมสยาม อาลี เสือสมิง (หน้า ๒๙๙)
6. จุฬาราชมนตรี (สิน)
จุฬาราชมนตรี (สิน)
พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) หรือชื่อทางอิสลามว่า “มิรซากุลามอเซ็น” เป็นบุตรของพระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) มารดาของท่านชื่อคุณหญิงกลิ่น เป็นราชินิกุลทางสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กล่าวคือ ท่านเป็นลูกเรียงพี่เรียงน้องกับพระราชชนนีในรัชกาลที่ ๕ ดังนั้นพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) จึงอยู่ในราชินิกุลทางฝ่ายพระราชชนนี
ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ บันทึกไว้ในหนังสือ จุฬาราชมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย (หน้า ๒๔) ระบุว่า เมื่ออายุได้ประมาณ ๑๘ ปี บิดานําไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กมียศ “นายฉลองในยนารถ”
ครั้นเมื่อขึ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรด ให้ย้ายมาอยู่กรมท่าขวา สังกัดกรมท่ากลาง คือกระทรวงการต่างประเทศสมัยนั้น ซึ่งขณะนั้นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ซึ่งต่อมาได้เป็น สมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์เป็นเสนาบดีอยู่ และต่อมาในปลายรัชกาลที่ ๔ ก็ได้เลื่อนขึ้นเป็น “หลวงราชเศรษฐี”
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็นกระทรวง ทบวง แบบอารยประเทศ และมีการตั้งศาลสถิตยุติธรรมขึ้นกระทรวง พระราชเศรษฐี (สิน) ก็ได้เลื่อนเป็น “พระยาจุฬาราชมนตรี” และได้เป็นผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งในสมัยนั้นสมเด็จกรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฐ์ เป็นเสนาบดี
พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ได้รับการแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีหลังจากที่จุฬาราชมนตรีคนเก่าได้ถึงแก่อสัญกรรม (จุฬาราชมนตรี (นาม) ผู้เป็นพ่อ) เพื่อปกครองมุสลิมทุกแนวทางทั่วราชอาณาจักร
นอกจากนี้ชีวิตในราชการพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ยังเป็นเจ้ากรมกองแสตมป์กระทรวงยุติธรรม ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายประถมาภรณ์มงกุฎไทย และราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าวิเศษชั้นสูงสุดและได้รับพระราชทานพานทองเทียบชั้นเจ้าพระยาพานทอง
พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในรัชกาลที่ ๕ ที่พระองค์ทรงโปรดให้ความสนิทสนมชิดเชื้อมากเป็นพิเศษ ในพิธีมะหะหร่ำก็ทรงโปรดให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเสด็จทอดพระเนตรพิธีมะหะหร่ำ พร้อมกับข้าราชการและข้าราชบริพารทรงแต่งพระองค์ด้วยชุดดํา พระราชินี และพระเจ้าลูกยาเธอ ตลอดจนข้าราชการและข้าราชบริพารที่โดยเสด็จทุกพระองค์และทุกคนต้องแต่งชุดดํา
เมื่อพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ป่วย พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงโปรดให้แพทย์หลวงมาดูแลรักษา และโปรดให้กรมหลวงดํารงราชานุภาพ กับ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าทูลกระหม่อมอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ให้เสด็จมาเป็นเจ้าของไข้และมีมหาดเล็กมาจดรายงานการป่วยถวายให้ทรงทราบตลอดทุกระยะ
อาลี เสือสมิง เขียนไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ขุนนางมุสลิมสยาม (หน้า ๓๑๐) ระบุว่า ท่านจุฬาราชมนตรี (สิน) ถึงแก่อนิจกรรม วันที่ ๑๐ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ได้นําศพไปฝังที่กุฎีข้างวัดหงสาราม รวมอายุได้ ๖๕ ปี (ณ มัสยิดต้นสน (กุฎีใหญ่) ปากคลองบางหลวง)
ทรงโปรดให้มีการแห่ศพทางน้ำอย่างสมพระเกียรติยิ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ มาทรงเป็นประธานในพิธีฝัง ศพด้วยพระองค์เอง และโปรดเกล้าฯ ให้แกะไม้สลักเป็นลวดลายเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานปักไว้ ณ หลุมศพด้วย
ท่านจุฬาราชมนตรี (สิน) นับเป็นจุฬาราชมนตรี ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นลําดับที่ ๑๐ ของประเทศไทย
7. จุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา)
จุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา)
ท่านจุฬาราชมนตรี คนที่ ๗ ของกรุงรัตนโกสินทร์ หรือคนที่ ๑๑ ของประเทศไทย คือ พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน อหะหมัดจุฬา) มีชื่อ อิสลามว่า “มิรซา อาลีระชา” เป็นบุตรพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) คุณหญิงแพ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ซึ่งตรงกับในปีของการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔
เมื่อยังเยาว์วัยได้ไปฝึกอบรมระเบียบงานราชการอยู่กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ณ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา หรือที่ชาวมุสลิมสี่แยกฝั่งธนเรียกท่านว่า “ดาโต๊ะ สมเด็จ” (ท่านเจ้าคุณ สมเด็จ) นั่นเอง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้ฝึกอบรมท่านสัน ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชายของท่านให้ได้เรียนรู้ถึงระบบราชการและระเบียบแบบแผนต่างๆ ซึ่งจะต้องรับราชการสืบไป
ท่านสันเป็นลูกหลานในวงศ์เฉค อะหมัด ด้วยกัน จึงเป็นที่สนิทสนมและไว้วางใจของสมเด็จเจ้าพระยาฯ เป็นอันมาก
ต่อมาได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เป็น “หลวงราชเศรษฐี” สังกัดกรมท่าขวา กระทรวงการต่างประเทศ
ครั้นเมื่อกระทรวงยุติธรรมได้ตั้งศาลยุติธรรมในกระทรวงยุติธรรมขึ้น หลวงราชเศรษฐีจึงได้ย้ายมาอยู่กระทรวงยุติธรรม ตําแหน่ง พนักงานดูเงิน (ฝ่ายการเงิน) แล้วเลื่อนขึ้นเป็นจ่าศาลต่างประเทศ เป็นการมาร่วมรับราชการอยู่กับเจ้าคุณบิดา (พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน))
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมหัว เสด็จฯ กลับจากประเทศยุโรป ก็ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระราชเศรษฐี ปลัดกรมท่าขวาโดยตําแหน่ง แต่คงรับราชกระทรวงยุติธรรม กรมท่าขวา คือ กรมศักดิ์ตามสมัยโบราณราชประเพณีมีหน้าที่ราชการปกครองควบคุมชนชาวอิสลามทั่วราชอาณาจักร (ประยุรศักดิ ชลายนเดชะ จุฬาราชมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย)
ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคตเมื่อ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติอีก ๒ ปี ต่อมา พระราชเศรษฐี (สัน) ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน) แล้วเลื่อนขึ้นเป็นเจ้ากรมกองแสตมป์ แทนบิดาที่ถึงแก่อนิจกรรมด้วย
ต่อมาพระยาจุฬาราชมนตรี (สัน) ได้รับยศทางฝ่ายพลเรือนเป็น “อำมาตย์เอก” และยศทางเสือป่าเป็น “นายหมวดเอก” สังกัดกองเสือป่ารักษาดินแดน
พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ทรงเป็นที่ปรึกษาในทางศาสนาอิสลามของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสนพระทัยศึกษาศาสนาทุกศาสนาทุกบ่ายวันเสาร์ ซึ่งเป็นเวลานอกราชการที่กระทรวง พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ต้องไปเข้าเฝ้าเป็นประจํา นอกจากนี้ยังมีความสนิทสนมกับสมเด็จพระสังฆราชเป็นอันมาก
พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน) ยังเป็นนักแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และเคยแต่งกลอนสดให้ชาวชีอะห์ (แขกเจ้าเซ็น) ด้วย
พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน) ได้ขอพระราชทานนามสกุล “อหะหมัดจุฬา” จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ๕ กรกฎาคม ๒๔๕๖ และได้รับพระราชทานเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๔๕๖ อันเป็นนามสกุลสําหรับผู้สืบสายโลหิตลงมาจาก เฉค อะหมัด ทางพระยาจุฬาราชมนตรี (ก้อนแก้ว) และนับเป็นสายสกุลเดียวกับ “บุนนาค” อีกด้วย
ต่อมาภายหลังสมัยรัฐบาล จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ผู้ใช้สกุล “อหะหมัดจุฬา” บางท่านได้เปลี่ยนไปใช้ “จุฬารัตน์” แทน เพราะคําว่า “อหะหมัดจุฬา” มีภาษาอาหรับปนอยู่ด้วย ซึ่งเป็นการขัดนโยบาย “รัฐนิยม” ในสมัยนั้น (อาลี เสือสมิง ประวัติศาสตร์ขุนนางมุสลิมสยาม หน้า ๓๐๓)
เมื่อท่านจุฬาราชมนตรี (สัน) ป่วยนั้นมีบรรดาชาวมุสลิมทุกฝ่ายทั้ง ฝ่ายชีอะห์และซุนนี่มาเยี่ยมเฝ้าไข้ตลอดเวลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยอาการป่วยของท่านจุฬาราชมนตรีมาก ทรงมีลายพระหัตถ์อวยพรให้หายวันหายคืน และรับสั่งให้สมุหราชพิธีมาเยี่ยมรายงานอาการให้ทรงทราบเป็นประจํา
ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ เมษายน ๒๔๖๖ (เป็นวันที่ ๒๔ เดือนรอมฎอน อันเป็นเดือนที่เก้าตามปฏิทินอิสลาม) อายุ ๕๗ ปี ศพของท่านถูกนําไปฝัง ณ มัสยิดต้นสน (กุฎีใหญ่)
ในพิธีฝังศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีฝังศพแทนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย
8. จุฬาราชมนตรี (เกษม อหะหมัดจุฬา)
จุฬาราชมนตรี (เกษม อหะหมัดจุฬา)
พระยาจุฬาราชมนตรี (เกษม อหะหมัดจุฬา) เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และเป็นคนที่ ๑๒ ของประเทศไทย ท่านมีชื่อทางอิสลามว่า “มุฮัมมัดระชา” เป็นบุตรคนที่ ๕ ของพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) เป็นน้องต่างมารดากับพระยาจุฬาราชมนตรี (สัน)
เจ้าคุณบิดาได้นําถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษในปลายสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สังกัดอยู่ในกรมท่าขวา กระทรวงการต่างประเทศ
ครั้นต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงย้ายมารับราชการกระทรวงยุติธรรม ในตําแหน่งรองเจ้ากรมกองแสตมป์ และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศรีเนาวรัตน์ (เกษม)
เมื่อพระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ผู้เป็นพี่ถึงแก่อนิจกรรมแล้วจึงได้เลื่อนเป็นเจ้ากรมกองแสตมป์ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาจฬาราชมนตรี และได้ว่าที่ “จุฬาราชมนตรี” อีกตําแหน่งหนึ่งด้วย (ประยุรศักดิ์ ชลายนเดชะ จุฬาราชมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย)
ท่านจุฬาราชมนตรี (เกษม) ดํารงตําแหน่งอยู่เป็นเวลา ๓ ปีเศษ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ศพของทานฝังไว้ ณ มัสยิดต้นสน (กุฎีใหญ่) เช่นเดียวกับท่านจุฬาราชมนตรีคนก่อนๆ
9. จุฬาราชมนตรี (สอน อหะหมัดจุฬา)
จุฬาราชมนตรี (สอน อหะหมัดจุฬา)
“ท่านจฬาราชมนตรี คนที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หรือคนที่ ๑๓ ของประเทศไทย คือ พระยาจุฬาราชมนตรี (สอน อหะหมัดจุฬา) เป็นยาจุฬาราชมนตรี (สัน) กับคุณหญิงถนอม ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงราชเศรษฐี” รับราชการในกระทรวงมหาดไทย
ในแผ่นดินพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น พระยาจุฬาราชมนตรี (สอน) และนับเป็นคนสุดท้ายจากตระกูล เฉค อะหมัด ซึ่งเป็นจุฬาราชมนตรีต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นระยะเวลากว่า ๓๓๗ ปี และต่อเนื่องกันมาตลอดถึง ๑๓ ท่านด้วยกัน (นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๑๔๕ - จุลศักราช ๙๖๔ ปีขาล จัตวาศก - อันเป็นปีที่ท่านเฉค อะหมัด ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น พระยาเฉค อะหมัด กับ ท่านมะหะหมัด สะอิด เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา จนถึงปีที่ท่านพระยาจุฬาราชมนตรี (สอน อหะหมัดจุฬา) ได้ ออกจากบรรดาศักดิ์ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ (อาลี เสือสมิง เขียนไว้ในหนังสือ ประวัติศาสตร์ขุนนางมุสลิมสยาม หน้า ๓๐๖)
นับว่าสกุลของท่านเฉค อะหมัดนี้ได้ทําคุณงามความดีและได้บําเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมไทยและรับใช้ชาติบ้านเมือง ตลอดจนถึงศาสนาอิสลามในเมืองไทยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานเกือบ ๔ ศตวรรษทีเดียว
ท่านพระยาจุฬาราชมนตรี (สอน) ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ประมาณ ๔ ปี ศพยังอยู่ ณ มัสยิดต้นสน (กฎีใหญ่) ปากคลองบางหลวง เช่นกัน - news.muslimthaipost.com
- จุฬาราชมนตรี “สายชีอะห์ - ซุนนี่” ผู้นำมุสลิมยุคแรกแห่งสยาม
- ย้อนอดีต จุฬาราชมนตรีคนแรกถึงปัจจุบัน 18 ท่าน
- ประวัติ เฉกอะหมัด จุฬาราชมนตรีคนแรกของไทย (ละเอียด)
- จดหมายเปิดผนึกถึง ‘โต ซิลลี่ฟูลส์’ วันนี้เจ้าตัวจ่อพบจุฬาราชมนตรี (คลิป)
- จุฬาราชมนตรี คนสุดท้ายแห่งเชื้อสายท่านเฉกอะหมัด คือใคร?
- เปิดประวัติ หลวงศรียศ ออกญาจุฬาราชมนตรี ตัวละครมุสลิมในบุพเพสันนิวาส
- ออกญาจุฬาราชมนตรี (แก้ว) คือใคร? อิงกระแสบุพเพสันนิวาส 2561
ที่มา: หนังสือจุฬาราชมนตรี ประวัติศาสตร์ผู้นำไทยมุสลิมจาก สมัยอยุธยา ถึง ยุคทักษิณ
http://news.muslimthaipost.com/news/32083