มหัศจรรย์เรื่องเวลาการถือและละศีลอดเดือนรอมฎอน
มหัศจรรย์เรื่องเวลาการถือและละศีลอดเดือนรอมฎอน
อีกไม่นานมุสลิมทั่วโลกก็เข้าสู่เทศกาลถือศีลอดเดือนรอมฎอน ฮ.ศ.1445 ที่คาดว่าจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2567 กันแล้ว รอมฎอนมิใช่แค่ถือศีลอดตลอดวันเพียงอย่างเดียว ยังมีการละหมาดยาวยามค่ำคืนที่เรียกว่า “ตะรอเวียะฮฺ” ร่วมอยู่ด้วย ทั้งยังมีเรื่องเวลาและนาฬิกาชีวิตเข้ามาเกี่ยวข้อง จังหวะเวลาเหล่านี้สัมพันธ์กับกลไกทางเมแทบอลิซึมของพลังงานในร่างกาย เรื่องราวน่าสนใจ จึงอยากจะอธิบายให้เข้าใจสักหน่อย จะว่าเป็นความมหัศจรรย์ของการถือศีลอดแบบอิสลามก็ไม่น่าจะผิด ค่อยๆทำความเข้าใจก่อนถึงเดือนรอมฎอนจะดีกว่า
- รอมฎอน 1445 คาดเริ่มเมื่อไหร่ ประเทศที่ถือศีลอดนานที่สุดและสั้นที่สุด
- รอมฎอน 2567 ตรงกับวันอะไร ถือศีลอดปีนี้เริ่มเดือนไหน?
เริ่มที่ภาวะอดอาหาร (fast state) น้ำตาลกลูโคสในเลือดลดต่ำลง (hypoglycemia) ฮอร์โมนหลายตัว ได้แก่ กลูคากอน อะดรีนาลีน คอร์ติซอล โกร๊ทฮอร์โมน ร่วมกันทำงานสร้างกลูโคสจากสารต่างๆ (gluconeogenesis) เพื่อเติมเข้าสู่กระแสเลือด ส่วนในภาวะกินอาหาร (fed state) กลูโคสจากแป้งและน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้นเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) ร่างกายหลั่งอินสุลินเร่งกลไกดึงกลูโคสเข้าสู่เซลล์ ใช้เวลาครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง กระทั่งน้ำตาลในเลือดกลับสู่ภาวะปกติ (normoglycemia) โดยใช้กลไกของฮอร์โมนอินสุลินเพียงตัวเดียว กลูโคสเมื่อเข้าเซลล์ เมแทบอลิซึมเป็นไปในสองทางคือถูกสลายเป็นพลังงานหรือสะสมในรูปไกลโคเจนและไขมันขึ้นกับว่าในเวลานั้นมีแสงอาทิตย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมหรือไม่ หากมีแสง กลูโคสจะสลายเป็นพลังงาน หากไม่มีแสง กลูโคสจะสะสมในรูปไกลโคเจนหรือไขมัน เหตุนี้เอง การกินอาหารยามดึกจึงอ้วนได้ง่าย ไขมันเมื่อสะสมมากเกินไป ปัญหาคือโรคอ้วนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ในเดือนรอมฎอน ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) แนะนำให้กินอาหารสะฮูร (มื้อก่อนเช้า) ให้ใกล้เวลาแสงตะวันจับขอบฟ้า (ฟะญัร) ซึ่งเป็นเวลาเริ่มถือศีลอดให้มากที่สุด แนะนำอย่างนั้นเพื่อกะจังหวะเวลาให้พอเหมาะกับการทำงานของอินสุลินให้กระตุ้นการนำกลูโคสไปสร้างพลังงาน หากกินสะฮูรก่อนหน้านั้น เช่น ก่อนนอนหรือกลางดึกห่างเวลาฟะญัรที่มีแสงอาทิตย์ในทางอ้อมนานเกินไป อินสุลินจะกระตุ้นให้นำน้ำตาลไปสะสมซึ่งส่งผลเสียมากกว่าผลดี
ยามละศีลอด (อิฟตาร) ท่านนบีแนะนำให้กินอาหารเล็กน้อยก่อนละหมาดมัฆริบจากนั้นกลับมากินต่อ เวลานั้นแสงอาทิตย์ในทางอ้อมยังมีอยู่และจะหมดไปเมื่อเข้าเวลาละหมาดอีซา ช่วงนี้อินสุลินผลักดันให้นำกลูโคสไปสร้างพลังงาน พลังงานที่อาจเหลืออยู่จะถูกนำไปสะสม ซึ่งเข้าเวลาละหมาดอีซาและตะรอเวียะฮฺพอดี ร่างกายมีการใช้พลังงานจึงผลักดันมิให้นำพลังงานที่เหลือไปสะสม เมื่อเข้าใจกลไกทางเมแทบอลิซึมว่าเป็นเช่นนี้ ใครอยากมีสุขภาพดีจึงแนะนำให้กินอาหารเย็นให้เสร็จสิ้นหลังละหมาดมัฆริบ โดยไม่ควรกินหลังเวลาละหมาดตะรอเวียะฮฺอีก เห็นได้ว่าสิ่งที่ท่านนบีแนะนำไว้ช่างสอดคล้องกับกลไกทางเมแทบอลิซึมของพลังงานอย่างน่ามหัศจรรย์
ที่มา: Dr.Winai Dahlan
https://news.muslimthaipost.com/news/37984
บทความที่น่าสนใจ
- ถือศีลอดช่วยยืดอายุสมองและชะลอวัย
- ผู้นำนานาชาติยกย่องศาลโลก “ชัยชนะที่เด็ดขาด”
- เหตุวัยรุ่นอเมริกันเชื้อปาเลสไตน์ ถูกยิงดับ ให้อิสราเอลสอบ “เร่งด่วน”
- นักบินอวกาศเอมิเรตส์ กลับถึงโลกแล้ว อยู่นานถึง 6 เดือน
- นักเคลื่อนไหวยิว-อาหรับ เรียกร้องสันติภาพในเมืองใหญ่ของอิสราเอล (ชมภาพ)
- 'เนทันยาฮู' ปฏิเสธเงื่อนไขปล่อยตัวประกันฮามาส
- EU กดดันอิสราเอล แก้ปัญหาตั้งรัฐปาเลสไตน์
- อิหร่านจับคนไม่ถือศีลอดกว่า 400 คน
- บังคลาเทศ ดูจันทร์เสี้ยวรอมฎอน 24 เม.ย.
- Sinéad O'Connor นักร้องดังที่เข้ารับอิสลาม เสียชีวิตแล้ว
- ใครเขียนอัลกุรอาน