หากสถานที่ที่จะทําการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล เคยทําการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ฮาลาล (ฮารอม) มาก่อน ฝ่ายกิจการฮาลาลก็มีทางออกให้กับผู้ประกอบการ โดยไม่มีความจําเป็นต้องย้ายสถานที่ผลิต
การล้างสถานที่ผลิต เพื่อผลิตอาหารฮาลาล ต้องทำอย่างไรบ้าง?
มาตรฐานฮาลาลมีความเกี่ยวข้องกับสองภาคส่วนอย่างชัดเจน คือ หน่วยงานให้การรับรอง และหน่วยงานที่ขอรับรอง ซึ่งทั้งสองส่วนต่างมีหน้าที่รับผิดชอบ แต่จุดประสงค์ที่ทั้งสองส่วนมีเหมือนกันก็คือการดํารงมาตรฐานให้สมบูรณ์ที่สุด
การผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล การแน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ปราศจาก ความปนเปื้อนนะยิสหรือวัตถุดิบต้องห้ามตามศาสนบัญญัติเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่ง ปัจจัยสําคัญคือการป้องกันไม่ให้วัตถุดิบต้องห้ามปนเปื้อนเข้ามาในสายการผลิต เช่น ขั้นตอนการตรวจรับ วัตถุดิบที่ผู้ประกอบการต้องตรวจเอกสารรับรองฮาลาลจากผู้ ผลิตวัตถุดิบ ผู้ตรวจรับวัตถุดิบ เป็นต้น แต่ถ้าหากสถานที่ที่จะทําการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล เคยทําการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ฮาลาล (ฮารอม) มาก่อน ฝ่ายกิจการฮาลาลก็มีทางออกให้กับผู้ประกอบการ โดยไม่มีความจําเป็นต้องย้ายสถานที่ผลิตหรือต่อเติมอาคาร สถานที่เพื่อรองรับการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลแต่อย่างใด สิ่งที่ผู้ ประกอบการต้องทําก็คือ "การล้างสถานที่ผลิตตามศาสนบัญญัติอิสลาม" เท่านั้น
ในข้อกําหนดการตรวจรับรองกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ ฮาลาล พ.ศ. ๒๕๕๙ ระบุไว้ในข้อ ๖.๑๑ และ ๒.๑๒ ดังนี้
๖.๑๑ ผู้ประกอบการต้องควบคุมการจัดเก็บภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล ไม่ให้ปะปนกับภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ฮารอม
๖.๑๒ ภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องจักรที่เคยใช้ในการผลิต ผลิตภัณฑ์ฮารอมหรือปนเปื้อนนยิสหนักต้องได้รับการล้างทําความสะอาดตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม จึงจะสามารถนํามาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลได้ บันทึกจากการล้างนะยิสหนักต้องได้รับการจัดเก็บ และทําเป็นรายงานเสนอคณะกรรมการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ฮาลาลเพื่อขอรับรองฮาลาล
ล้างอะไรบ้าง
การล้างสถานที่ผลิตเพื่อรองรับการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล ตามข้อกําหนดมีความชัดเจนตามข้อกําหนดฯ อยู่แล้ว นั่นคือการล้างภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องจักร สถานที่ผลิตที่เคยใช้ผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ฮาลาลมาก่อน ซึ่งการจะล้างด้วยวิธีการใด หรือ ล้างด้วยอะไรนั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขว่าเครื่องจักรหรืออุปกรณ์นั้น เคยผลิตอะไรมาก่อน เช่น เครื่องจักรเคยผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีการปนเปื้อนนะยิสหนัก อันได้แก่ สุนัขหรือสุกร ซึ่งทั้งสองอย่างนี้จําเป็นต้องทําความสะอาดด้วยน้ำดินหรือสบู่ดินเท่านั้น แต่ถ้าหากสถานที่ผลิตนั้นเคยใช้สําหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีนะยิสหนักเป็นส่วนผสม ก็สามารใช้เพียงน้ำสะอาดล้างตามศาสนบัญญัติก็เพียงพอ
การล้างนะยิสตามหลักการศาสนาอิสลาม
ในข้อกําหนดการตรวจรับรองกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล พ.ศ. ๒๕๕๙ ระบุไว้ในข้อ ๔.๖.๒.๒ - ๔.๖.๒.๓ ดังนี้
๔.๖.๒.๒ วิธีล้างนอิสชนิดปานกลาง
ให้ชําระนะยิสออกให้หมดเสียก่อน แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดให้ไหลผ่านอย่างน้อย ๑ ครั้ง ผลิต ให้ทั่วถึงทุกส่วนที่เปรอะเปื้อนนยิส โดยต้องทําให้สี กลิ่น รส ของ อ้าง นะยิสนั้นหมดไป และในทางที่ดีให้ล้างเพิ่มเป็น ๓ ครั้ง
๔.๖.๒.๓ วิธีล้างนะยิสชนิดหนัก
ให้ชําระนะยิสออกให้หมด เสียก่อนแล้วล้างด้วยน้ำสะอาดให้ไหลผ่าน ๗ ครั้ง แต่ ๑ ใน ๓ ครั้งนั้น ต้องเป็นน้ำดินที่สะอาดตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม และมีสภาพอุ่นแขวนลอย หรือ น้ำดินสอพองและแนะนําให้ใช้ น้ำดินล้างในครั้งแรก
ล้างยังไง
ขั้นตอนการล้างสถานที่ผลิตจะเริ่มจากการชี้แจงถึงความ จำเป็นและขั้นตอนในการล้างให้ผู้ประกอบการรับทราบ โดยผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมบุคลากรและอุปกรณ์ที่จําเป็นสําหรับการล้างไว้ให้ครบถ้วน ซึ่งฝ่ายกิจการฮาลาลจะส่งผู้แทนที่มีความรู้ความเข้าใจในการล้างไปเป็นผู้ควบคุม หลังจากนั้นก็ถึงขั้นตอนการล้าง
ลําดับในการล้างจะพิจารณาตามความเหมาะสมของสถานประกอบการ โดยให้อยู่ภายใต้การตัดสินใจร่วมกันระหว่างตัวแทนของฝ่ายกิจการฮาลาลและตัวแทนจากสถานประกอบการ
การล้าง ควรเริ่มจากการล้างด้วยสบู่ดินและตามด้วยน้ำสะอาด จนกว่าอุปกรณ์และเครื่องจักรจะสะอาด โดยพิจารณาจากการปรากฎของสี กลิ่น รส หลังจากนั้นให้ทําการล้างตามขั้นตอนเดียวกัน สําหรับทุกอุปกรณ์ เมื่อครบถ้วนแล้วก็ถือเป็นอันเสร็จขั้นตอนการล้างสถานที่ผลิต
โซนที่แยกไม่ต้องล้าง
สําหรับการพิจารณาว่าสถานที่ใดต้องทําการล้างบ้างนั้น มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอ้างอิงกลับไปที่ "ข้อกําหนดการตรวจรับรองกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล พ.ศ.๒๕๕๙" ข้อ ๖.๕ ที่ระบุว่า
5.๕ ผู้ประกอบการต้องจัดแยกสถานที่ที่ใช้ในการผลิต ผลิตภัณฑ์ฮาลาลและพื้นที่ที่มีการผลิตผลิตภัณฑ์ฮารอมให้ชัดเจน ตลอดกระบวนการผลิต โดยตั้งกําแพงกั้นแยกพื้นที่ การจัดแยกพนักงาน อุปกรณ์เครื่องจักร และสิ่งอํานวยความสะดวกในการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล หรือตามการพิจารณาของคณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาล คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
จากเนื้อหาในข้อกําหนดฯ ดังกล่าว สามารถนํามาเป็นบรรทัดฐานได้ว่า หากสถานที่ที่ต้องการเปลี่ยนมาผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้นแยกออกจากสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์ฮารอมอย่างชัดเจน (มาแต่เดิม) ตามที่ระบุในข้อกําหนดฯ ก็ให้ทําการล้างเฉพาะพื้นที่ได้รับการแบ่งอาณาเขตชัดเจนไว้เท่านั้น แต่ถ้าหากการแบ่งพื้นที่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดฯ ผู้ประกอบการจําเป็นต้องแยกพื้นที่ การผลิตให้เป็นสัดส่วนเสียก่อน จากนั้นจึงทําการล้างสถานที่ที่จะใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล
ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ที่ผ่านการล้างแล้วกลับไปผลิต ผลิตภัณฑ์ฮารอมอีก
เมื่อผู้ประกอบการทําการล้างสถานที่ผลิตจนสามารถดําเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลแล้ว ฝ่ายกิจการฮาลาลไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการใช้สถานที่ในการผลิตผลิตภัณฑ์ฮารอมในลักษณะสลับกันไปมา ให้ถือว่าพื้นที่ดังกล่าวต้องถูกใช้เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลตลอดไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสับสนและการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อมาตรฐานฮาลาล และผู้ประกอบการในภายภาคหน้าประวัติผู้เขียน
บทความโดย : อ.กานต์ หงน้อย นักวิชาการฝ่ายกิจการฮาลาล สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
- มุสลิมไทย ทำตัวโชว์หรู ดูดี มีอีหม่าน ทั้งที่ตัวเองไม่ค่อยมีทั้งเงินและศาสนา
- แชร์ว่อน! เคเอฟซีแพ้ แฟรนไชส์KFCฮาลาล จริงหรือ?
- วิปครีม ฮาลาลไหม?
- ชี้แจง! กรณีต่ออายุตราฮาลาลล่าช้า
- ไปชิมกัน ก๋วยเตี๋ยวเรือฮาลาล 15 บาท อ่าวนาง กระบี่
- KFC ประเทศไทย ทำไมไม่ฮาลาล? กอท.เคลียร์ทุกประเด็น
- รวมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปฮาลาล อร่อยที่สุด มุสลิมทานได้นะจ๊ะ
- การเชือดฮาลาล - โคเชอร์ ยิว ห้ามแล้วใน เบลเยี่ยม
- กาตาร์ จัดฟุตบอลโลก 2022 ยกระดับ ภาษีบาป!!
- ช็อคโกแลต ฮาลาล Toblerone เจอกลุ่มขวาจัดสวิสฯ ต้าน
- ส้มตำ ไก่ย่าง ออกร้าน รับออกร้านอาหารนอกสถานที่