คำวินิจฉัย กัญชาและกัญชง จุฬาฯฟัตวาฮาลาลหรือไม่? ที่มุสลิมต้องอ่าน
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: กัญชาและกัญชง จุฬาฯฟัตวาฮาลาลหรือไม่?
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี
เรื่อง กัญชาและกัญชง
กัญชาและกัญชงตามหลักการศาสนาอิสลาม กัญชา เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าขึ้นได้ง่ายในเขตร้อน ลำต้นสูงประมาณ ๒ - ๔ ฟุต ลักษณะใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ ๕ - ๘ แฉก คล้ายใบมันสำปะหลังที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยักอยู่เป็นระยะ ๆ ออกคอกเป็นช่อเล็ก ๆ ตามง่ามของกึ่งและก้าน ส่วนที่คนนำมาเสฟ ได้แก่ ส่วนของกิ่ง ก้าน ใบ และยอดช่อดอกกัญชา โดยนำมาตากหรืออบแห้ง แล้วบดหรือหั่นให้เป็นผงหยาบ ๆ จากนั้นจึงนำมายัดไส้บุหรี่สูบ (แตกต่างจากบุหรี่ทั่วไปที่ไส้กัญชาจะมีสีเขียว ซึ่งต่างจากไส้ยาสูบที่มีสีน้ำตาล และขณะจุดสูบจะมีกลิ่นเหมือนหญ้าแห้งไหม้ใฟ) หรืออาจสูบด้วยกล้องหรือบ้องกัญชา บ้างก็ใช้เคี้ยวหรือผสมลงในอาหารรับประทาน
ปัจจุบันรูปแบบของกัญชาที่พบ นอกจากจะพบในลักษณะของกัญชาสดกัญชาแห้งอัดเป็นแท่งเป็นก้อนแล้ว ยังอาจพบในรูปของ "น้ำมันกัญชา" (Hashish Ol) ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือสีคำ ได้จากการนำกัญชามาผ่านกระบวนการสกัดหลาย ๆ ครั้ง จึงได้เป็นน้ำมันกัญชาที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทสูงถึง ๒o - ๖o เปอร์เซ็นต์ หรืออาจพบในลักษณะของ "ยางกัญชา" (Hashish) เป็นยางแห้งที่ได้จากใบและยอดช่อคอกกัญชา ซึ่งโดยทั่วไปจะมีฤทธิ์แรงกว่ากัญชาสด และมีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประมาณ ๔ - ๘ เปอร์เซ็นต์
ภาพกัญชา
กัญชา เป็นยาเสพติดให้โทษที่ออกฤทธิ์หลายอย่างต่อระบบประสาทส่วนกลาง คือทั้งกระตุ้นประสาท กด และหลอนประสาท สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในกัญชามีหลายชนิด แต่สารที่สำคัญที่สุดที่มีฤทธิ์ต่อสมองและทำให้ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจเปลี่ยนแปลงไป คือ เตตราโฮโตรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol หรือ THC ที่มีอยู่มากในส่วนของยอดช่อดอกกัญชา สาร THC นี้ในเบื้องต้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้เสพตื่นเต้น ช่างพูด และหัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะกดประสาททำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้าอย่างอ่อน ๆ เชื่องซึม และง่วงนอน หากเสพเข้าไปในปริมาณมาก ๆจะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ความคิดสับสน ควบคุมตนเองไม่ได้
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว กัญชายังจัดเป็นสมุนไพรที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในทางการแพทย์มาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางด้านการศึกษาวิจัยและข้อมูลวิชาการในต่างประเทศสนับสนุนว่า กัญชาสามารถนำมารักษาโรคบางโรคได้จริง ทำให้ "กัญชาเพื่อการแพทย์" กลายเป็นเรื่องถูกฎหมายแล้วในหลายประเทศและยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคตอีกด้วย
ภาพกัญชง
กัญชง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Hemp ชื่อทางพฤกษศาสตร์เรียก Cannabis เหมือนกัญชาเพียงแต่คนละสายพันธุ์กับกัญชา ลักษณะภายนอกมีต้นที่สูงเรียว ถ้าเทียบกับตันกัญชาแล้ว ต้นกัญชงมักจะสูงใหญ่กว่าต้นกัญชาและสูงเกิน ๒ เมตร ในส่วนของใบกัญชงจะมีขนาดใหญ่กว่าใบกัญชามีการเรียงสลับของใบที่ห่างกัน ลักษณะของใบกัญชงสีเขียวอ่อน มีประมาณ ๗ - ๑๑ แฉกมากกว่ากัญชาและใบไม่มียางเหนียวติดมือเหมือนใบกัญชา
กัญชง เป็นต้นพืชที่ใช้ประโยชน์ในการผลิตเส้นใยสำหรับถักทอ นำมาทำเป็นเสื้อผ้าหรือเยื่อกระคาษได้ดี เมล็ดกัญชงมีปริมาณโปรตีนสูง มักนำมาทำเป็นอาหารแทนถั่วเหลือง เช่น ทำเต้าหู้ เนยน้ำมันสกัด ไอศกรีม หรือขนมปัง ได้
กัญชาและกัญชง มีผลต่อร่างกายและจิตใจที่เกิดจากสารเคมีบางอย่างซึ่งมีหลายชนิดอยู่ในพืชตระกูลนี้ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท แต่ที่สำคัญและมีผลต่อร่างกายและระบบประสาทมากที่สุด คือ Tetrahydrocannabinol หรือชื่อย่อว่า THC และ Cannabidiol มีชื่อย่อว่า CBD การตรวจหาปริมาณสารเคมีทั้งสองนี้สามารถทำให้แยกกัญชงจากกัญชาได้ โดยกัญชงและกัญชามีส่วนของสารเคมีข้างต้นแตกต่างกัน ที่สำคัญ ๆ คือ กัญชานั้นจะมีปริมาณสาร THC สูงประมาณ ๑ - ๑๐ เปอร์เซ็นด์ แต่กัญชงมีสาร THC ต่ำกว่ามาก ต้นที่มีสาร THC น้อยกว่า ๐.๓ เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักแห้ง จะถือว่าเป็น กัญชง แต่ถ้ามีค่า THC สูงกว่านี้ถือเป็นกัญซา กรณีนำมาใช้ทางการแพทย์ต้องสกัดสาร THC และ CBOออกมาใช้ในปริมาณที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ทางการรักษาแต่ละอย่าง
สาร THC เป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท และระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายผ่อนคลายและมีความรู้สึกสนุก แต่มีอาการข้างเคียงต่อจิตประสาท ทำให้กระวนกระวาย ซึมเศร้ามีความบกพร่องในความจำ การเรียนรู้ การทำงานของระบบเคลื่อนไหว การพูด การใช้ศัพท์ มีผลต่อการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต ในขณะที่สาร CBD มีผลช้างเคียงน้อยกว่า พบว่ามีฤทธิ์ต้านการชัก ทำให้ง่วงนอน และลดการกระวนกระวายได้
เนื่องจากในกัญชาจะมี THC เป็นส่วนประกอบอยู่ถึง ๑๒ เปอร์เซ็นต์ และมี CBD เพียงไม่ถึง ๐.๓๐ เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ดังนั้น การสูบกัญชาโดยตรงเพื่อรักษาโรคที่ CBD ทำได้นั้น ล้วนแต่ทำให้ร่างกายได้รับแต่ THC มากเกินไปและเกิดอาการทางจิตประสาทต่าง ๆ ตามมา การจะใช้งาน CBD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะไม่ทำให้มึนเมาและไม่ส่งผลต่อระบบประสาทต้องอาศัยการสกัดออกมาและต้องใช้ในปริมาณที่หมาะสมด้วย ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่การพัฒนาสกัดสารนี้ออกมาเพื่อใช้ในทางการแพทย์โดยเฉพาะ
ข้อยกเว้นที่ว่านี้ มีหลักการที่ใด้มาจากแบบปฏิบัติของท่านเราะซูล (ซ.ล.)ที่อนุญาตให้ชาวอุร่อนี่ย์ กลุ่มหนึ่งที่ลัมป่วยมีอาการแย่ ดื่มปัสสาวะของอูฐเพื่อบำบัดรักษาโรคที่ประสบ และท่านเราะซูล (ซ.ล.) ก็เคยอนุญาตให้ท่านซุเบร และท่านอับดุรเราะฮ์มาน อิบนุเอาฟ์สวมชุดผ้าไหมเมื่อครั้งที่ท่านป่วยด้วยอาการทางผิวหนัง
นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี
สรุป กัญชาและกัญชง ฟัตวาเป็นฮารอม (สิ่งต้องห้าม) หากใช้เพื่อสันทนาการและสำราญใจไม่ว่าจะโดยการกิน ดื่ม สูบ เคี้ยว ดม ยกเว้นฮาลาล อนุญาตเมื่อการนำมาใช้ในทางการแพทย์เท่านั้น
โปรดระวังเรื่องการชิม ดื่ม อยากลอง!