อิสลามมีข้อชี้ขาดอย่างไรเกี่ยวกับการเงินระบบติจิตอลในยุคปัจจุบัน
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์: ฟัตวา บิทคอยน์ Bitcoin ฮาลาลหรือไม่?
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี เรื่อง การเงินระบบดิจิตอล
คำถาม : อิสลามมีข้อชี้ขาดอย่างไรเกี่ยวกับการเงินระบบติจิตอลในยุคปัจจุบัน
คำวินิจฉัย
"สกุลเงินดิจิตอล" หรือที่รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า "คริปโทเคอร์เรนซี่" (cryptocurrency) ซึ่งก็คือนวัดกรรมโลกการเงินขนานใหม่ เปรียบเสมือนระบบธนาคารโลกดิจิตอลที่ไม่มีสถาบันกลางควบคุม เพราะมีการนำระบบบล็อกเขน (Blockchain) มาใช้เป็นพื้นฐานของระบบสกุลเงินติจิตอล
เงินดิจิตอลจึงแตกต่างจากสกุลเงินทั่วไป เนื่องจากคุณสมบัติซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติครั้งใหม่ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเงินดิจิตอลไม่มีผู้ทำหน้าที่ควบคุม ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือธนาคารกลางที่สามารถสร้างหรือส่งผลต่ออุปสงค์และอุปทานได้ เงินดิจิตอลเป็นสกุลเงินเข้ารหัสซึ่งไม่มีตัวตนให้จับต้องได้ จึงมิได้เป็นเพียงรายการในฐานข้อมูลเหมือนกับเงินแบบทั่วไป
การทำธุรกรรมของเงินติจิตอลจะถูกส่งระหว่างคู่ของ "กระเป๋าเงินติจิตอล" ด้วยการจับคู่รหัสสาธารณะที่มีความเกี่ยวข้องกับรหัสส่วนตัวของผู้ใช้ หรือเรียกว่า "กุญแจเข้ารหัส" การทำธุรกรรมเกิดขึ้นระหว่างผู้ใช้งานและถูกบันทึกไว้ในสมุดบัญชีสาธาณะที่เรียกว่า "บล็อกเซน" ผู้ไช้เงินติจิตอลตัวเดียวกันจะสามารถเข้าถึงสมุดบัญชีทั่วไปได้ ซึ่งจำนวนเงินในการทำธุรกรรมนั้นถูกออกแบบให้เปิดเป็นสาธารณะ
สกุลเงินดิจิตอลที่ได้รับความนิยมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. บิทคอยน์ (Bitcoin) เป็นเกุลเงินติจิตอลสกุลแรกที่กำเนิดขึ้นเมื่อปี 2009 (2552)
2. อัลคอยน์ (Allcoin) ย่อมาจาก Altemative หรือแปลตามตัวได้ว่า เหรียญทางเลือก ซึ่งเป็นกลุ่มสกุลเงินติจิตอลต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากบิทตอยน์ เช่น อีเธอเรียม (Ethereum) บิทคอยน์แคช (Bitcoin Cash) ไลท์คอยน์ (Litecoin) และริปเปิ้ล (Ripple) เป็นตัน ซึ่งแต่ละเหรียญจะมีที่มาและคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป (3) www.jib-ex.com
สกุลเงินดิจิตอล หรือ คริปโทเคอร์เรนซี่ นี้จึงถือเป็นเงินสกุลใหม่ที่สร้างขึ้นเพื่อลดการรวมศูนย์ของระบบการชำระเงินผ่านสถาบันการเงินให้ตามารถกระจายไปยังผู้ใช้ในเครือข่ายสกุลเงินนั้นๆ ได้ซึ่งแม้จะมีข้อดีที่รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ ปลอดภัย แต่ธนาคารกลางส่วนใหญ่ยังไม่รองรับว่าบรรดาควิปโทเคอร์เรนซี่ที่เอกชนสร้างขึ้นมาสามารถใช้ชำระหนี้ใด้ตามกฎหมาย คริปโทเคอร์เรนซี่จึงทำหน้าที่ของเงินได้ไม่ครบ เพราะยังไม่เป็นสื่อกลางในการชำระเงินและไม่ถูกใช้เป็นหน่วยกำหนดราคาสิ่งของ อีกทั้งมูลค่าก็ยังผันผวนมากด้วย (4) www.bot.or.thv/Thai/ResearchAndPubications
ในทางหลักศาสนบัญญัติ นักวิชาการร่วมสมัยดำงมีทัตนะตรงกัน สกุลเงินดีจิตอลในสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ยังขาดคุณสมบัติ ที่จะใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนและชำระหนี้ใด้ตามหลักศาสนบัญญัติ และไม่สามารถใช้เป็นหน่วยกำหนคราคาสิ่งของต่างๆ ได้ ด้วยเหตุผลหลายประการต่อไปนี้
1. สกุลเงินดิจิตอล ถูกสร้างขึ้นจากกลไกคณิตศาสตร์ที่กำหนดจำนวนไว้จำกัด ต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ถอตรหัสเพื่อนำเงินออกจากกลไก สกุลเงินชนิดนี้จึงมีเพียงตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่สามารถจับต้องได้ อีกทั้งไม่มีสถาบันกลางที่นำเชื่อถือดอยควบคุม และธนาครกลางทั้งหลายรวมทั้งกฎหมายก็ไม่รับรองว่าสามารถใช้ในการชำระหนี้ได้ และสกุลเงินชนิดนี้ก็ไม่ได้อ้างอิงกับสกุลเงินห้องถิ่นที่มีมูลค่าแน่นอนด้วย กอปรกับไม่สามารถตรวจสอบผู้ที่อยู่เบื้องหลังความเปลี่ยนแปลงและความผันผวนที่เกิดขึ้นได้
2. ในหลักศาสนบัญญัติกำหนดว่า สกุลเงินที่ไช้ในการแลกเปลี่ยนและชำระหนี้ได้นั้นจะต้องถูกสร้างขึ้นจากรัฐ ด้วยเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของรัฐเท่านั้น ไม่ว่จะเป็นรูปแบบของเงินที่ได้รับการยอมรับว่ามีมูลค่าในตัวเอง เช่น เหรียญเงิน เหรียญทองคำ ฯลฯ หรือจะเป็นเงินตราเพียต (Fiat currency) ในรูปแบบธนบัตรที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ตาม
ในเรื่องตังกล่าวนี้ท่านอีหม่ามอะหมัด อิบนุ ฮำบัล ได้กล่าวว่า
"ไม่อนุญาตให้ผลิตเหรียญเงินขึ้นใช้ นอกจากที่โรงกษาปณ์ ดามคำประกาศของผู้มีอำนาจแห่งรัฐเท่านั้น เพราะหากปล่อยให้เป็นเรื่องที่คนทั่วไปสามารถทำได้แล้ว ปัญหาใหญ่ ๆ ย่อมจะเกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้"
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่แน่ชัดว่า เงื่อนไขขั้นพื้นฐานในการพิจารณาว่า สกุลเงินนั้นสามารถใช้ได้ตามหลักการของศาสนาหรือไม่ คือ จะต้องเป็นสกุลเงินที่ได้รับการรับรองจากรัฐให้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนและชำระหนี้ได้
3. ในหลักศาสนบัญญัติกำหนดว่า ธุรกรรมใดๆ ก็ตาม จะต้องมีความชัดเจนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายในลักษณะการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของ ( Barter System) หรือจะเป็นการซื้อขายโดยผ่านธนบัตรที่อ้างอิงกับมูลค่าและถูกค้ำประกันโดยรัฐ ( FiatMoney) ความชัดเจนที่ว่านี้ครอบคลุมถึงความชัดเจนในตัวคู่ค้า ความชัดเจนในตัวสินค้าที่ถูกนำมาแลกเปลี่ยน ความชัดเจนในระบบที่สามารถนำไปสู่การตรวจสอบและป้องกันความเสียหาย ซึ่งเมื่อเราหันมาพิจารณาที่สกุลเงินดิจิตอลแล้ว จะพบว่าเงื่อนไขสำคัญๆ หลายประการที่กล่าวมานี้ไม่มี และเมื่อเงื่อนไขเหล่านี้ขาดไป โอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่อคู่ค้าและต่อระบบเศรษฐกิจจึงมีมาก
ท่านอิบนุลอะเราะบีย์ กล่าวว่า :
ปราชญ์ทั้งหลายต่างมีความเห็นตรงกันว่า การซื้อขายจะถูกต้องและใช้ได้นั้นจะต้องมีความโปร่งใสชัดเจนจากบุคคลที่ชัดเจน สินค้าที่ชัดเจน และต้องกระทำโดยผ่านช่องทางใดก็ตามที่สามารถสืบรู้และตรวจสอบได้
พิจารณาแล้วจึงวินิจฉัยว่า
การใช้สกุลเงินดิจิตอล (ตามสภาพที่มีและเป็นอยู่ในปัจจุบัน) เพื่อธุรกรรมการแลกเปลี่ยนและชำระหนี้นั้น ไม่เป็นที่อนุญาตตามหลักศาสนบัญญัติ ส่วนในอนาคตข้างหน้าหากมีการปรับแต่งสกุลเงินดิจิตอลให้มีรูปแบบและเงื่อนไขที่สอดคล้องกับหลักตาสนบัญญัติแล้ว หลักการและคำวินิจฉัยก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน
นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี
สรุป ฟัตวาจากท่านจุฬาราชมนตรี เรื่อง บิทคอยน์ Bitcoin ไม่ฮาลาลในประเทศไทย
หลังจากที่เรารู้เเล้วว่า ท่านจุฬาราชมนตรีได้ทำการฟัตวาเกี่ยวกับ Bitcoin ว่าไม่อนุญาตในประเทศไทย เรามาดูฟัตวาของประเทศต่างๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรม Bitcoin ซึ่งมีดังนี้ เเละฟัตวาในประเทศเหล่านี้ มีทัศนะว่า ไม่อนุญาตเช่นกัน นี่เป็นส่วนหนึ่งที่หามา ยังมีอีกมากมาย
1. บิทคอยน์ Bitcoin ศูนย์ฟัตวาอียิปต์ ดารุลอิฟตาอฺ มิสริยะห์ มีทัศนะว่า ไม่อนุญาต เเละฮะรอม
أنه لا يجوز شرعًا تداول عملة "البتكوين" والتعامل من خلالها بالبيعِ والشراءِ والإجارةِ وغيرها، بل يُمنع من الاشتراكِ فيها؛ لعدمِ اعتبارِها كوسيطٍ مقبولٍ للتبادلِ من الجهاتِ المخُتصَّةِ، ولِمَا تشتمل عليه من الضررِ الناشئ عن الغررِ والجهالةِ والغشِّ في مَصْرِفها ومِعْيارها وقِيمتها، فضلًا عما تؤدي إليه ممارستُها من مخاطرَ عاليةٍ على الأفراد والدول
ที่มา: https://bit.ly/3oGJOVv
2. บิทคอยน์ Bitcoin ฟัตวาอาหรับเอมิเรตส์ ไม่อนุญาต เเละฮะรอม
فإنه لا يجوز التعامل بالبيتكوين أو العملات الالكترونية الأخرى التي لا تتوفر فيها المعايير المعتبرة شرعاً وقانوناً؛ وذلك لأنَّ التعامل بها يؤدي إلى عواقب غير سليمة: سواء على المتعاملين، أو على الأسواق المالية والمجتمع بأكمله، وسواء اعتبرناها نقداً أو سلعة
ที่มา: https://bit.ly/3wrHx2R
3. บิทคอยน์ Bitcoin ศูนย์ฟัตวาเเห่งประเทศจอร์เเดน กล่าวว่า ฮะรอม เช่นกัน
لا يجوز المضاربة بالبتكوين في الوقت الراهن؛ لأنها لا تمثل قيمة حقيقية مستقرة، فقيمتها تتذبذب بشكل كبير صعودا ونزولا خلال فترات وجيزة بشكل غير منطقي، مما ينذر بكوارث اقتصادية قد تحدث مستقبلا نتيجة هذا التذبذب غير المنطقي
ที่มา: https://bit.ly/2RywuGE
4. บิทคอยน์ Bitcoin ฟัตวาอุลามะซาอุฯ กล่าวว่า ฮะรอม
ที่มา: https://bit.ly/2Sl0fum
5. บิทคอยน์ Bitcoin ศูนย์ฟัตวามาเลย์ กล่าวว่า ไม่อนุญาตเช่นกัน
Bitcoin yang terdapat pada masa sekarang tidak menepati ciri-ciri mata wang yang telah ditetapkan oleh Islam, diputuskan bahawa Bitcoin mampu mengundang pelbagai kemudaratan terhadap sistem kewangan sesebuah negara. Oleh kerana itu, penggunaan Bitcoin yang ada pada masakini sebagai satu mata wang adalah dilarang bagi memelihara kemaslahatan umum.
ที่มา: https://bit.ly/3bOlbB3
6. บิทคอยน์ Bitcoin ฟัตวาประเทศบรูไน ก็มีทัศนะว่า ฮะรอม เเละไม่เศาะห์
Autoriti Monetari Brunei Darussalam (AMBD) mengingatkan orang ramai bahawa mata wang kripto adalah tidak sah diperlakukan di Negara Brunei Darussalam dan tidak dikawal oleh AMBD.
ที่มา : https://bit.ly/3wy89iZ
7. บิทคอยน์ Bitcoin ฟัตวาอินโด คือ หากทำธุรกรรมลงทุน ฮะรอม หากใช้เเลกเปลี่ยน อนุญาต
Majelis Ulama Indonesia (MUI) juga telah mengeluarkan catatan terhadap Bitcoin. MUI menyebut bahwa bitcoin memiliki dua hukum, yakni mubah dan haram. Mubah berlaku jika bitcoin digunakan hanya sebagai alat tukar bagi dua pihak yang saling menerima. Sementara itu hukum haram jika bitcoin digunakan sebagai investasi.
ที่มา: https://bit.ly/3oKHWes
ตามที่ผมได้ค้นคว้า พบว่า บรรดาอุลามะส่วนใหญ่มีทัศนะว่า ฮะรอม ดังนั้น ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยง เเต่เมื่อผู้นำท่านจุฬาได้ทำการฟัตวาเเล้ว คำฟัตวาของผู้นำสามารถออกจากคีลาฟได้ เเละทันที เเละต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น หากใครต้องการเเวกเเนว ก็ไม่สมควรทำ ทางที่ดี ควรตะวักกุฟ หนีออกห่างจากสิ่งที่คลุมเครือเเละไม่ชัดเจน การฟัตวา การวินิจฉัย ควรปฏิบัติตามบรรดาอุลามะอิสลาม ไม่ใช่ตามนักธุรกิจ หรือ นักเศรษฐศาสตร์ ที่ไม่รู้เรื่องฟิกฮ์ เเละไม่มีความรู้ศาสนา เป็นต้น
ที่มา: Matty Ibnufatim Hamady