เฉค อะหมัด ปฐมจุฬาราชมนตรีแห่งสยาม ขุนนางมุสลิมหลายคนที่เข้ามาพึ่งโพธิสมภารในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา
เฉค อะหมัด ปฐมจุฬาราชมนตรีแห่งสยาม
ขุนนางมุสลิมหลายคนที่เข้ามาพึ่งโพธิสมภารในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา หลายคนได้รับตำแหน่งสำคัญและได้มีโอกาสรับใช้ราชสำนักและพระมหากษัตริย์หลายแผ่นดินในสมัยอยุธยา จนกระทั่งมาถึงยุคต้นรัตนโกสินทร์
ในปลายสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถแห่งกรุงศรีอยุธยา(พุทธศักราช 2136 - 2144) นับเป็นยุคเฟื่องฟูของกรุงศรีอยุธยา ทำให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำมาค้าขายและติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาหลายชาติ
ในยุคนี้ มีพ่อค้าชาวเปอร์เซีย 2 พี่น้อง คนพี่ชื่อ "เฉค อะหมัด" คนน้องชื่อ "มะหะหมัด สะอิด" เป็นชาวเปอร์เซียจากเมืองกุม นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ ซึ่งคนไทยโดยทั่วไปเรียกว่า "แขกเจ้าเซ็น" พร้อมด้วยบริวาร ได้เข้ามาตั้งรกรากค้าขายอยู่แถวท่าภาษี
ทั้งท่านเฉค อะหมัด และ มะหะหมัด สุอิด (สะอิด) ทำการค้าโดยซื้อสินค้าพื้นเมืองจากไทยบรรทุกสำภาออกไปจำหน่ายต่างประเทศและซื้อของจากต่างประเทศเข้ามาขาย ณ กรุงศรีอยุธยา เรียกว่า ทำการส่งออกและนำเข้าโดยสมบูรณ์ทั้งขึ้นทั้งล่อง โดยส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนอยู่แถวท่ากายีใกล้พระนครศรีอยุธยา
การค้าของบุคคลทั้งสองเจริญรุ่งเรื่องมาเป็นลำดับ จนถึงขั้นเป็นเศรษฐีใหญ่ในกรุงศรื่อยุธยาที่เดียว แต่ "ท่านเฉค สะอิด" อยู่ไม่นานก็กลับไปกรุงเปอร์เชีย และมิได้กลับมาอีกเลยตลอดชีวิต
ส่วน "ท่านเฉค อะหมัด" นั้น หลังจากที่ได้สมรสกับสุภาพสตรีซาวไทยแล้ว ก็ตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ในกรุงศรีอยุธยาตลอดชีวิตของท่าน
เฉค อะหมัดได้แต่งงานกับหญิงชาวไทยชื่อเชย มีบุตรด้วยกัน 3 คน ที่หนึ่งเป็นชายชื่อ "ชื่น" ที่สองเป็นชายชื่อ "ชม" และที่สามเป็นหญิงชื่อ "ซี" สำหรับท่านชื่นกับท่านชมนั้น บิดาถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ส่วนท่านชมได้ป่วยเป็นไข้พิษถึงแก่กรรมแต่ยังหนุ่ม สำหรับท่านชื่น ผู้เป็นบุตรใหญ่นั้นเมื่ออายุได้20 ปี พระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็น พระยาบวรเชษฐภักดี ว่าที่กรมขวา และได้รับความไว้วางใจจากพระยากลาโหม ไว้เนื้อเชื่อใจมากฟๅๅ (ชื่น โกมารกุล ณ นคร เฉค อะหมัด และต้นตระกูลบุนนาค)
ครั้นในสมัยแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม "ท่านเฉค อะหมัด" นับเป็นผู้เจนจัดในด้านการค้ากับต่างประเทศ และได้ช่วยราชการแผ่นดิน โดยร่วมกับ "พระยาพระคลัง" ปรับปรุงการกรมท่า ทำให้งานราชการด้านการค้าเจริญก้าวหน้ามาก
ความทราบถึงเบื้องพระยุคลบาท จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ป็น "พระยาเฉค อะหมัด รัตนราชเศรษฐี" เจ้ากรมท่าขวา และ "ว่าที่จุฬาราชมนตรี" เป็นผู้ดูแลควบคุมชาวมุสลิมอีกด้วย
และนี่คือจุดเริ่มต้นของปฐมแห่งจุฬราชมนตรีของประเทศไทย
ครั้นต่อมาเมื่อเจ้าพระยาพระคลังถึงแก่อนิจกรรมก็ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ "พระยาเฉค อะหมัด รัตนราชเศรษฐี" เป็นเจ้ากรมท่ากลางอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย นับได้ว่าท่านผู้นี้ได้ว่าที่เสนาบดีการต่างประเทศ และการพาณิชย์ของประเทศไทยในสมัยนั้นโดยสมบูรณ์ทีเดียว
ครั้งที่พวกกบฏญี่ปุ่นก่อการจลาจลขึ้น มีแผนการจับสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินก็ได้ "พระยามหาอำมาตย์ กับ พระยาเฉค อะหมัด รัตนราชเศรษฐี" รวมพลกำลังไทยพุทธ
กับกำลังของชาวมุสลิมเข้าปราบการจลาจลครั้งนั้นได้ทันท่วงที ทำให้บ้านเมือง กลับเข้าสู่สภาวะปกติ
ความชอบครั้งนี้ ทรงพระกรุณโปรดเกล้าให้ พระยามหาอำมาดย์เลื่อนเป็น "เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ว่าที่สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีปักษ์ใต้" และให้ "พระยาเฉค อะหมัด รัตนราชเศรษฐี" เลื่อนเป็น "เจ้าพระยาเฉค อะหมัด รัตนราชเศรษฐีว่าที่สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ"
ในต้นแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2173 - 2199) ซึ่งแต่เดิมคือเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ เคยเป็นสหายสนิทร่วมกันมา ทรงเห็นว่า เจ้าพระยาเฉด อะหมัด รัตนราชเศรษฐี มีอายุชราภาพมากแล้ว จึงทรงโปรดให้พ้นจากตำแหน่งสมุหนายก เลื่อนเป็น "เจ้าพระยาบวรราชนายก" อยู่ในตำแหน่งจางวางมหาดไทย คือ ตำแหน่งที่ปรึกษาราชการทั่วไป
อาลี เสือสมิง ได้เขียนไว้ในหนังสือ "ประวัติศาสตร์ ขุนนางมุสลิมสยาม" (หน้า ๑๔๙ โดยอ้างจาก (ประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ มุสลิมในประเทศไทย หน้า ๑๔๐) ระบุว่า เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉค อะหมัด) ได้ถึงแก่อสัญกรรม ด้วยอายุ 99 ปี จากหลักฐานระบุว่า "เจ้าพระยาอภัยราชา" (ชื่น) ผู้เป็นบุตร ได้จัดแห่ศพบิดาไปฝัง ณ ป่าช้าแขก (กุโบร์) บ้านท้ายคู
ปัจจุบันอยู่ในบริเวณวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านมัก เรียกว่า "ท่านเจ้าประคุณกลางเมือง"
"ท่านเฉค อะหมัด" หรือท่านเจ้าพระยาบวรราชนายกนี้นับเป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นมุสลิมนิกายชีอะห์ และนับได้ว่า "ท่านเฉค อะหมัด" ผู้นี้เป็นผู้นำศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ เข้ามาสู่เมืองไทยเป็นคนแรก
อย่างไรก็ตาม ศาสนาอิสลามนั้นได้เข้ามายังประเทศไทยก่อนหน้านี้นานแล้ว โดยเริ่มเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยเฉพาะชาวมุสลิมทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจนถึงมลายู ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามมาก่อน และบรรดาเจ้าเมืองทางภาคใต้ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นชาวมุสลิมนิกายซุนนี่
"ท่านพระยาจุฬราชมนตรีเฉค อะหมัด" ซึ่งเป็นปฐมแห่งจุฬราชมนตรีแห่งสยามนั้น ซึ่งเป็นต้นตระกูลของ "บุนนาค" ในปัจจุบันนี้
เรียบเรียงโดย: เอกราช มูเก็ม / หนังสือจุฬาราชมนตรี ประวัติศาสตร์ผู้นำไทยมุสลิม