เรื่องพิจารณาการใช้ กัญชง กัญชา เมล็ดกัญชง กัญชา น้ำมันจากเมล็ดกัญชง กัญชา โปรตีนจากเมล็ดกัญชง กัญชา และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของเมล็ดกัญชง
กัญชง-กัญชา กก.อิสลามออกประกาศแล้ว ฮาลาลหรือไม่? (รายละเอียด)
จากเพจ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศ ฉบับที่ 8/2564 ฝ่ายกิจการฮาลาล สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
เรื่องพิจารณาการใช้ กัญชง กัญชา เมล็ดกัญชง กัญชา น้ำมันจากเมล็ดกัญชง กัญชา โปรตีนจากเมล็ดกัญชง กัญชา และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของเมล็ดกัญชง กัญชา เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและประกาศที่เกี่ยวข้อง เรื่องการอนุญาตการใช้กัญชง กัญชา เมล็ดกัญชง กัญชา น้ำมันจากเมล็ดกัญชง กัญชา โปรตีนจากเมล็ดกัญชง กัญชา และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของเมล็ดกัญชง กัญชา ให้เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย ดังกล่าวนี้ส่งผลต่อกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลลาล เนื่องจากผู้ประกอบการมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบกัญชง กัญชา ในการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลและผลิตภัณฑ์ทั่วไป ทั้งนี้ฝ่ายกิจการฮาลาล สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจึงได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอแก่ท่านจุฬาราชมนตรีและคณะผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรีทำการพิจารณา และได้ออกคำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี สรุปดังนี้คือ
1. การใช้กัญชง กัญชาเพื่อสันทนาการและความสราญใจ เช่น การกิน การดื่ม สูบ เคี้ยว ดม หรือวิธีใดก็ตาม ถือเป็นฮารอม (สิ่งต้องห้าม) ฐานเดียวกับการดื่มสุรา
2. การใช้กัญชง กัญชา เพื่อการรักษา เป็นข้อยกเว้นสำหรับการนำมาใช้ในทางการแพทย์การรักษาหากมีความจำเป็น
ภาพกัญชง
จากการวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี ดังกล่าวมีผลต่อการรับรองกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลและเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลให้มีความสอดคล้องกับระเบียบและประกาศต่างๆ ของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการต้องพิจารณาดำเนินการดังนี้
1) การใช้วัตถุดิบกัญชง กัญชา เมล็ดกัญชง กัญชา น้ำมันจากเมล็ดกัญชง กัญชา โปรตีนจากเมล็ดกัญชง กัญชา และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของเมล็ดกัญชง กัญชา มาใช้ในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล ไม่เป็นที่นุญาตฮารอม (สิ่งต้องห้าม) ไม่สามารถรับรองให้เป็นผลิตภัณฑ์ฮาลาลได้
2) กรณีผู้ประกอบการฮาลาลที่มีความประสงค์ที่จะนำผลิตภัณฑ์ในกลุ่มกัญชง กัญชา มาผลิตในกระบวนการเดียวกันกับการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล ผู้ประกอบการต้องทำหนังสือขออนุญาตและต้องได้รับการพิจารณาอนุญาตจากคณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
3) ผู้ประกอบการต้องมีการแจ้งถึงสถานที่ กระบวนการ วัตถุดิบ ที่ใช้สำหรับการดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่ว เพื่อให้มีการพิจารณาอนุมัติอย่างครอบคลุมและไม่มีการปกปิดข้อมูลอันเป็นผลกระทบต่อกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล
ภาพกัญชา
4) จากข้อที่สาม ผู้ประกอบการต้องมีการพิจารณาดำเนินการดังนี้
4.1 ผู้ประกอบการต้องจัดทำขั้นตอนกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์กัญชง กัญชา ตลอดห่วงโซ่ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ฮาลาล
4.2 ผู้ประการต้องจัดทำบันทึกแผ่นการควบคุมการล้างทำความสะอาด บันทึกการจัดเก็บ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนข้ามสำหรับผลิตภัณฑ์ฮาลาลกับผลิตภัณฑ์ฮารอมให้คณะกรรมการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ฮาลาลพิจารณา และผู้ประกอบการต้องจัดทำบันทึกแผนการตรวจผลิตภัณฑ์ฮาลาสในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม่มีการปนเปื้อนวัตถุดิบจากกัญชง กัญชา เมล็กัญชง กัญชา น้ำมันจากเมล็ดกัญชง กัญชา โปรตีนจากมล็ตกัญชง กัญชา และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของเมล็ดกัญชง กัญชา จากกระบวนการที่ถูกผลิตร่วมด้วย
5) ข้อพิจารณาการห้ามนี้มีผลบังคับใช้ครอบลุมผลิตภัณฑ์ฮาลาลทุกประเภท เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์เพื่ออุปโภค ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอื่นที่เกี่ยวข้อง
6) กรณีผู้ประกอบการฮาลาลที่มีความประสงค์จะนำผลิตภัณฑ์ในกลุ่มกัญชง กัญชา มาผลิตในกระบวนการเดียวกับการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล โดยผู้ประกอบการไม่ใด้ขออนุญาตเป็นลักษณ์อักษร หรือมีเจตนาในการปกปิดการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิต วัตถุติบส่วนผสมใดๆ แก่คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลฯ กรณีดังกล่าวนี้อาจส่งผลให้คณะกรรมการฯ พิจารณายกลิกการรับรองฮาลาลได้
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564
(รองศาสตราจารย์ ดร.อิสมาแอ อาลี)
ประธานฝ่ายกิจการฮาลาลคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย